คู้มือดูเเลระบบบำบัดน้ำเสียอาคาร

รุปคู่มือ ความรู้เกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS สำหรับอาคาร

 

AS (Activated Sludge)

  • นิยมใช้ในอาคารขนาดใหญ่
  • เป็นการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพประเภทใช้อากาศ
  • มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายมลพิษ

 

แบ่งหัวข้อ

  1. มีอะไรในน้ำเสียบ้าง
  2. เมื่อเกิดน้ำเสียแล้วจะทำอย่างไร
  3. ทำความรู้จักระบบ AS
  4. ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานระบบ AS
  5. วิธีควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย AS
  6. ปัญหาที่พบบ่อยและแนวทางแก้ไข
  7. ข้อคำนึงและการบำรุงรักษาระบบน้ำเสีย
  8. การวิเคราะห์ปัญหาระบบน้ำเสียอาคารและการปรับปรุง

 

1.มีอะไรบ้างในน้ำเสีย

1.1น้ำเสียมีอะไรบ้าง

น้ำเสียเป็นน้ำเสียชุมชน ส่วนใหญ่มาจาก การประกอบกิจกรรมของผู้ที่อยู่อาศัย จากการประกอบอาหาร การชำระล้างต่างๆ

คุณลักษณะ ใช้วัดน้ำเสีย(Parameter)

  1. pH บอกความเป็นกรด-ด่าง
  2. BOD (Biochemical Oxygen Demand) บอกปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์
  3. ปริมาณของแข็ง คือปริมาณสารต่างๆ ที่มีอยู่ในน้ำเสียทั้งละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ
  4. ไนโตรเจน เป็นหนึ่งในสารอาหาร จำเป็นต่อการสร้างเซลล์สิ่งมีชีวิตในน้ำเสีย
  5. ไขมันและน้ำมัน ได้แก่ ไขมันและน้ำมันที่ได้จากพืชและสัตว์ จากการทำอาหาร, สบู่จากการอาบน้ำ
  6. COD (Chemical Oxygen Demand) ค่าปริมาณออกซิเจนใช้ในการย่อยสารอินทรีย์ด้วยวิธีการทางเคมี

1.2 ปริมาณน้ำเสีย

ปริมาณน้ำเสียที่ปล่อยทิ้ง จะมีค่าร้อยละ 80 ของปริมาณน้ำใช้โดยประมาณ หรือสามารถประเมินได้จากจำนวนประชากรหรือพื้นที่อาคาร

 

  • การประมาณปริมาณน้ำเสียจากอาคาร คำนวณได้ 2 วิธี
  1. คิดจากจำนวนคนที่อยู่อาศัย(คิดตามหน่วยต่อคน)
  2. คิดจากอัตราการมใช้น้ำประปา (น้ำที่ใช้ x 0.65 ถึง 0.90)

2.1 เกิดน้ำเสียแล้วทำยังไง

            โดยธรรมชาติน้ำเสียเกิดแล้วจะย่อยสลายตามธรรมชาติ แต่น้ำเสียจากชุมชนมีความสกปรกสูง ทำให้จุลินทรีย์ ไม่สามารถย่อยสลายได้ทัน จึงมีกฎหมายกำหนดมลพิษที่ปล่อยน้ำเสีย

 

ตารางแสดง ขนาดและประเภทของอาคารที่กำหนดมาตรฐานระบายน้ำทิ้ง

 

 

 

ตารางแสดงมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารขนาดต่างๆ

 

 

 

 

การเก็บน้ำตัวอย่างทำได้โดย เก็บ ณ จุดระบายน้ำออกสู่สิ่งแวดล้อมนอกเขตพื้นที่อาคาร หรือจุดที่ระบายปล่อยสู่แหล่งน้ำ (มีจุดระบายน้ำหลายจุดก็เก็บทุกจุด)

 

 

 

 

 

 

 

 

3.ระบบAS คือ

 

หลักการทำงาน

เป็นระบบบัดน้ำเสียแบบตะกอนเร่ง เป็นการบำบัดทางชีวภาพ ใช้จุลินทรีย์แบบใช้อากาศ ในการย่อยสลายสิ่งเจือปนในน้ำเสีย สามารถลดค่าความสกปรกของน้ำเสียได้ และมีประสิทธิภาพในการบำบัดที่สูง แต่การใช้ระบบนี้จะมีความยุ่งยากซับซ้อนอยู่ จึงจำเป็น ต้องมีการกำหนดสภาวะแวดล้อม ลักษณะทางกายภาพต่างๆ ให้เหมาะสมแก่การทำงาน และต้องเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ เพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการบำบัดที่สูง

ระบบ AS จำเป็นต้องมีออกซิเจนสำหรับจุลินทรีย์ เพื่อใช้ในการย่อยอาหาร โดยอาหารของของสารอินทรีย์คือ สารคาร์บอนอินทรีย์ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส ความสกปรกเหล่านี้จะถูกย่อยสลายเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์เกิดเป็นเซลล์ใหม่ โดยมีสมการย่อยสลายเหมือนกันมนุษย์

 
   

 

 

 

จากสมการขั้นต้นทำให้รู้ว่า การกำจัดน้ำเสียด้วยวิธีการนี้ต้องอาศัยปัจจัย ได้แก่

  • มีปริมาณจุลินทรีย์ให้เพียงพอ
  • มีปริมาณออกซิเจนในน้ำที่เพียงพอ
  • มีกระบวนการแยกจุลินทรีย์ออกจากน้ำหลังการบำบัด เพื่อแยกสิ่งสกปรกกับน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว

 

ส่วนประกอบของระบบ AS

มีอย่างน้อย 4 ส่วน คือ

  1. ถังเติมอากาศ
  2. ถังตกตะกอน
  3. ระบบหมุนเวียนตะกอน
  4. ระบบระบายตะหอนส่วนเกิน

 

กรณีน้ำเสียมีตะกอนแขวนลอยสูงอาจจะต้องเพิ่มถังตกตะกอนอีก 1 ใบ ไว้หน้าถังเติมอากาศ เพื่อกำจัดตะกอนออกก่อน

 

หน้าตาของระบบ AS

 
   

 

 

 

 

ถังเติมอากาศมีหน้าที่ เป็นถังเลี้ยงจุลินทรีย์ที่ใช้ O2 ให้กินสารอินทรีย์ในน้ำเสียเป็นอาหารหลังการบำบัดจุลินทรีย์ที่มีในระบบถือเป็นสิ่งสกปรก จึงต้องมีการแยกจุลินทรีย์ออกจากน้ำก่อนโดยถังตกตะกอน เครื่องเติมอากาศสามารถใช้แบบแอเรเตอร์หรือแบบเป่าอากาศให้กับน้ำได้ เครื่องเติมอากาศเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับเพิ่มออกซิเจนให้จุลินทรีย์ใช้ย่อยสลายความสกปรกในน้ำเสีย ทำให้จุลินทรีย์สามารถสัมผัสกับน้ำเสียได้อย่างทั่วถึง จุลินทรีย์ที่ทำงานได้ดี จะเป็นตะกอนแขวนลอยสีน้ำตาลและตกตะกอนได้ดีแต่หากมีการหยุดเติมอากาศ ถังตกตะกอนจะไม่สามารถแยกจุลินทรีย์ออกจากน้ำได้ เป็นเหตุให้การกำจัดน้ำเสียไม่ได้ผลเท่าที่ควรเมื่อแยกจุลินทรีย์แล้ว น้ำใสจะล้นออกทางขอบบน ตะกอนจุลินทรีย์จะจมลงสู่ก้นถังตกตะกอน และจะถูกส่งกลับไปให้ถังเติมอากาศ เพื่อรักษาระดับความเข้มข้นของจุลินทรีย์ให้มีระดับเพียงพอสำหรับกำจัดน้ำเสียทั้งหมด เนื่องจากแบคทีเรียมีการเพิ่มจำนวนตลอดเวลาจึงต้องมีการระบายตะกอนจุลินทรีย์ส่วนเกินทิ้งบ้าว ซึ่งสามารถระบายทิ้งได้จากก้นถังตกตะกอนหรือ จากถังเติมอากาศ ตามความเหมาะสม

 

รูปส่วนประกอบของจุลินทรีย์ในระบบ AS

 
   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


จะสรุปได้ว่าวัตถุประสงค์ของการบำบัดน้ำเสียแบบ AS สามารถลดมลสารอินทรีย์ที่มีอยู่นน้ำเสียให้มากที่สุดในเวลาอันสั้น วิธีนี้มีประสทธิภาพในการทำงานสูงกว่าร้อยละ 90 และน้ำที่ผ่านการบำบัดสามารถทิ้งลงคลองได้

 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับระบบ AS

  • ระยะเวลาที่อยู่ในถังเติมอากาศประมาณ 6-12 ชั่วโมง ถังลึก 3-6 เมตร หลังจากนั้นค่อยปล่อยน้ำเสียเข้า
  • ถังตกตะกอนทำหน้าที่แยกเชื้อจุลินทรีย์ออกจากน้ำเสีย ตะกอนจุลินทรีย์ส่วนหนึ่งถูกส่งยังถังเติมอากาศใหม่ เพื่อเป็นเชื้อในการบำบัดต่อไป ส่วนตะกอนจุลินทรีย์ที่เหลือถูกส่งไปยังระบบกำจัดสลัดจ์
  • การเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ให้รักษาความเข้มข้น MLSS 1500-3000 มิลลิกรัม/ลิตร ในถังเติมอากาศ
  • อัตราส่วนอาหารต่อจุลินทรีย์ (F/M) ระหว่าง 0.25-0.5 กรัมบีโอดี/กรัมตะกอน-วัน
  • ถังตกตะกอนควรเป็นแบบถังกลมพร้อมใบกวาด มีระยะตกตะกอนนานไม่ต่ำกว่าประมาณ 6 ชั่วโมง
  • การตรวจสอบที่ควรกระทำที่สภาวะควบคุมต่างๆ ที่เหมาะสม เช่น ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ,SRT,F/M ระบบจึงทำงานได้ดีที่สุด
  • การตรวจสอบถังเติมอากาศของระบบAS วัดทั้งความสามารถในการกำจัดสารอินทรีย์ ลักษณะการจมตัวขิงสลัดจ์ ที่อยู่ในถังเติมอากาศ โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อลักษณะของสลัดจ์ เช่นการปรับระดับการเติมอากาศ อัตราการหมุนเวียนสลัดจ์ อัตราการทิ้งสลัดจ์ ซึ่งจะเป็นตังกำหนดความเข้มข้นและลักษณะของสลัดจ์ โดยไม่มีผลต่อหน้าที่ในด้านการกำจัดสารอินทรีย์

 

ประเภทของระบบ AS แบ่งเป็น 4 ประเภท

  1. ระบบASแบบกวนสมบูรณ์
  2. ระบบASแบบปรับเสถียรสัมผัส
  3. ระบบคลองวนเวียน
  4. ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเอลบีอาร์

 

ระบบ AS แบบกวนสมบูรณ์

ถังเติมอากาศต้องรักษาสภาพให้สามารถกวนให้น้ำและสลัดจ์ อยู่ในถังผสมเป็นเนื้อเดียวกันตลอดทั่วทั้งถังเติมอากาศ

ข้อดีคือ สามารถรองรับน้ำเสียที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้ดี เนื่องจากน้ำเสียจะกระจายไปทั่วถึง และสภาพแวดล้อมต่างๆ ในถังเติมอากาศก็มีค่าสม่ำเสมอทำให้จุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่มีอยู่มีลักษณะเดียวกันตลอดทั้งถัง เช่นช่วงแอน็อกซิก เพื่อย่อยสลายไนโตรเจน

 
   

 

 

 

 

 

 

 


ระบบASแบบปรับเสถียรสัมผัส

ระบบนี้จะแบ่งถังเติมอากาศเป็น 2 ถัง ได้แก่ ถังสัมผัส และถังย่อยสลาย โดยตะกอนที่สูบมาจากก้นถังตะกอนขั้นสอง จะถูกส่งมาเติมอากาศใหม่ ในถังย่อยสลาย ตะกอนจะถูกส่งมาสัมผัสกับน้ำเสียในถังสัมผัส เพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียในถังสัมผัสนี้ความเข้มข้นของสลัดจ์จะลดลงตามปริมาณน้ำเสียที่ผสมเข้ามาใหม่ น้ำใสส่วนบนจะถูกระบายออกจากระบบ ตะกอนที่ก้นถังส่วนหนึ่งจะถูกสูบกลับเข้าไปในถังย่อยสลาย อีกส่วนจะนำไปทิ้ง ทำให้บ่อเติมอากาศที่มีขนาดเล็กกว่าบ่อเติมอากาศของระบบตะกอนเร่งทั่วไป

 
   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ระบบคลองวนเวียน

ถังเติมอากาศจะมีลักษณะเป็นวงรี หรือวงกลม ทำให้น้ำไหลเวียนตามแนวยาวของถังเติมอากาศ และรูปแบบการกวนที่ใช้เครื่องกลเติมอากาศตีน้ำในแนวนอน รูปแบบของถังเติมอากาศลักษณะนี้จะทำให้เกิดสภาวะแอนอกซิค เป็นสภาวะที่ไม่มีออกซิเจนละลายในน้ำ ทำให้ไนเตรทไนโตรเจน (NO3-) ถูกเปลี่ยนเป็นก๊าซไนโตรเจน(N2 ) โดยจุลินทรีย์จำพวกไนตริฟายอิงจุลินทรีย์ ทำให้ระบบสามารถบำบัดไนโตรเจนได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเอสบีอาร์

เป็นระบบAS ประเภทเติมเข้า-ถ่ายออก มีขั้นตอนในกสรบำบัดน้ำเสียแตกต่างจากระบบ AS แบบอื่นๆ คือ การเติมอากาศ การตกตะกอน การเดินระบบบำบัดน้ำเสียแบบเอสบีอาร์ 1 รอบการทำงาน จะมี 5 ช่วงตามลำดับ

  1. ช่วงเติมน้ำเสีย น้ำเสียเข้าระบบ
  2. ช่วงทำปฏิกิริยา เป็นการลดสารอินทรีย์ในน้ำ
  3. ช่วงตกตะกอน ทำให้ตะกอนจุลินทรีย์ ตกลงก้นถังปฏิกิริยา
  4. ช่วงระบายน้ำทิ้ง ระบายน้ำที่ผ่านการบำบัด
  5. ช่วงพักระบบ เพื่อซ่อมแซมหรือ รับน้ำใหม่

 

 

 
   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ข้อดี-ข้อเสีย ของระบบAS

ข้อดี

  1. ใช้พื้นที่ก่อสร้างน้อย เมื่อเทียบกับกระบวนการบำบัดทางชีววิทยาแบบอื่นๆ
  2. มีประสิทธิภาพในการกำจัดสารมลพิษได้สูง
  3. สามารถรับการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารมลพิษต่างๆ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอัตราการไหลของน้ำเสียได้ดีพอควร
  4. เป็นระบบซึ่งสามารถติดตามและควบคุมปริมาณของมวลจุลินทรีย์ได้ง่าย
  5. สามารถเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายของถังเติมอากาศ

ข้อเสีย

  1. เป็นระบบที่ใช้พลังงานมาก ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูง
  2. ใช้ผู้ควบคุมระบบที่มีทักษะและได้รับการอบรมด้านการควบคุมมาอย่างดี
  3. มักเกิดปัญหาที่ต้องแก้ไข เช่น ปัญหาการจมตัวไม่ดีของตะกอนจุลินทรีย์
  4. มีสลัดจ์ส่วนเกิน ที่ต้องกำจัดต่อเมื่องเป็นประจำ

 


 

4.ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของระบบ AS

  1. 1.      ความเข้มข้นของสารอินทรีย์ในน้ำเสีย

ความเข้มข้นของสารจุลินทรีย์เปลี่ยนแปลงไปมากจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในระบบAS โดยอาจจะทำให้มีอัตราส่วนของอาหารต่อจุลินทรีย์สูง(มีอาหารมาก) ทำให้จำนวนจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีลักษณะเติบโตกระจายอยู่ทั่ว แทนที่จะรวมตัวเป็นกลุ่มก้อน เป็นผลให้ตกตะกอนไม่ดี น้ำออกขุ่น และมีค่าสารอินทรีย์หรือบีโอดีในน้ำสูง ในทางกลับกันถ้ามีอัตราส่วนอาหารต่อจุลลินทรีย์ต่ำ(มีอาหารน้อย) จนทำให้จุลินทรีย์เจริญเติบโตลดน้อยลง ถึงแม้จุลินทรีย์จะตกตะกอนได้เร็วแต่ก็ไม่สามารถจับตะกอนเล็กๆ ตกลงมาได้ ทำให้น้ำออกขุ่น

  1. 2.      อาหารเสริม

จุลินทรีย์ต้องการอาหารเสริม ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และเหล็ก ซึ่งแร่ธาตุเหล่านี้อยู่ในน้ำเสียชุมชน แต่อาจจะมีไม่พอในน้ำเสียอุสาหกรรม การขาดอาหารเสริม ทำให้จุลินทรีย์ฟล็อกเติบโตได้ไม่ดี ทำให้จุลินทรีย์เป็นเส้นใย ซึ่งทำให้AS ตกตะกอนได้ยาก เกิดเป็นชั้นอืดข้นมาสูงในถังตกตะกอน อาจไหลล้นออกมากับน้ำทิ้งจนระบบไม่สามารถทำงานต่อไปได้อีก การที่จุลินทรีย์หลายชนิดเจริญเติบโตได้ไม่ดี ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานต่างๆ ของระบบต่ำลงโดยปกติจะควบคุมบีโอดี 100 กิโลกรัม ไนโตรเจน 5 กิโลกรัม ฟอสฟอรัส 1 กิโลกรัม และเหล็ก 0.5 กิโลกรัม การเติมไนโตรเจนมักใส่ลงในรูปแบบแอมโมเนียหรือยูเรีย ฟอสฟอรัสจะใส่ลงในรูปของกรดฟอสฟอริก เหล็กในรูปของเฟอร์ริกคลอไรด์ เติมสารอาหารเสริมต้องสังเกตและวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำออกให้มีแร่ธาตุต่างๆเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย เพราะถ้าใส่ลงไปมากจะสิ้นเปลืองและสร้างมลพิษซึ่งทำลายสิ่งแวดล้อมด้วย

  1. 3.      ออกซิเจนละลายน้ำ

ถังเติมอากาศ ต้องมีค่าออกซิเจนละลายน้ำระหว่าง 1 ถึง 2 มก./ล. ซึ่งปริมาณของอากาศหรือออกซิเจนที่ใช้ เพื่อรักษาความเข้มข้นของออกซิเจนที่ละลายน้ำนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิหากอุณหภูมิสูง จุลินทรีย์สามารถทำงานได้มากก็ต้องการออกซิเจนมาก เมื่ออุณหภูมิน้ำต่ำทำให้ความต้องการเติมอากาศน้อยกว่าที่อุณหภูมิสูง

  1. 4.      ระยะเวลาในการบำบัด

ระยะเวลาต้องมีมากพอที่จุลินทรีย์จะใช้ในการย่อยสลายมลสารต่างๆ ถ้าเวลาต่ำไปสารที่ย่อยยากๆ จะถูกย่อยไม่ถึงขั้นสุดท้ายทำให้มีค่าบีโอดีเหลืออยู่ในน้ำเสียมาก

  1. 5.      ค่าพีเอช

แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีที่ค่าพีเอช 6.5-8.5 ถ้ามีพีเอชต่ำกว่า 6.5 ราจะเจริญเติบโตได้ดีกว่าแบคทีเรีย ทำให้ประสิทธิภาพต่ำลงและตกตะกอนไม่ดี ถ้าค่าพีเอชสูงก็จะทำให้ฟอสฟอรอรัสแยกตัวออกจากน้ำ และจุลินทรีย์ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ แต่ถ้าพีเอชมีค่าต่ำมากหรือสูงมากจุลินทรีย์จะตายหมดไม่สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้

  1. 6.      สารพิษที่มีผลต่อจุลินทรีย์

สารพิษมีสองจำพวก คือ แบบพิษเฉียบพลัน จุลินทรีย์จะตายหมดภายในระยะไม่กี่ชั่วโมง เช่น ไซยาไนด์ อาร์เซนิค อีกแบบคือ พิษออกฤทธิ์ช้า ใช้เวลานานและค่อยๆ ตาย โดยจุลลินทรีย์จะสะสมเอาไว้นเซลล์และเกิดเป็นพิษ จนตายในที่สุด เช่น ทองแดง โลหะหนักต่างๆ หรืออาจเกิดจากสารอินทรีย์ก็ได้เช่น แอมโมเนีย ความเข้มข้นสูงเกิน 500 มก./ล.

  1. 7.      อุณหภูมิ

เป็นปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ การเพิ่มอุณหภูมิทุก 10 องศาเซลเซียส จุลินทรีย์เจริญเติบโตเพิ่มขึ้นอีกเท่านึง จนถึงอุณหภูมิประมาณ 37 องศาเซสเซียส อุณหภูมิจะร้อนเกินไป จนจุลินทรีย์เติบโตน้อยลงอย่างรวดเร็วการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิมีผลต่อการทำงานในถังตกตะกอนขั้นที่สอง หากอุณหภูมิต่ำตะกอนจะตกได้ดีกว่าอุณหภูมิสูง


5.วิธีควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียแบบAS

มีการควบคุมได้ 2 แบบ

  1. 1.      การควบคุมอัตราส่วนอาหารต่อจุลินทรีย์

จุลินทรีย์ที่มีสมรรถภาพต้องมีปริมาณอาหารที่พอเหมาะ ต้องควบคุมรักษาอัตราส่วนของน้ำหนักบีโอดีที่ส่งเข้ามาบำบัดต่อน้ำหนักจุลินทรีย์ ในทางปฏิบัติการควบคุมปริมาณอาหาร หรือบีโอดีในน้ำเสีย จะควบคุมได้ยาก การทีจะควบคุมค่า F/M ให้เหมาะสมจะอาศัยการเปลี่ยนแปลงค่าน้ำหนักของจุลินทรีย์ โดยการเพิ่มหรือลดการนำสลัดจ์ส่วนเกินไปทิ้ง

  1. 2.      การควบคุมอายุสลัดจ์

อายุสลัดจ์ ระยะเวลาเฉลี่ยที่จุลินทรีย์หมุนเวียนอยู่ในระบบเป็นค่าที่สำคัญในการออกแบบและควบคุมการทำงานของระบบ และทีความสัมพันธ์โดยตรงกับค่าอัตราส่วนอาหารต่อจุลินทรีย์ ควบคุมค่าอายุสลัดจ์ให้มีค่าคงที่จะทำให้อัตราส่วนอาหารต่อจุลินทรีย์มีค่าคงที่ ซึ่งค่าที่ควบคุมเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดคุณภาพของน้ำทิ้ง ในการควบคุมระบบจะต้องทดลองหาค่าอายุสลัดจ์ที่เหมาะสม โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าอายุสลัดจ์กับคุณภาพน้ำทิ้ง เช่น บีโอดีและของแข็งแขวนลอยแล้วเลือกค่าที่เหมาะสมที่สุด

การควบคุมหรือการแปลงค่าอายุสลัดจ์ ทำได้โดยปรับอัตราการนำสลัดจ์ส่วนเกินไปทิ้ง ถ้านำไปทิ้งมากอายุสลัดจ์จะลดลง หากนำไปทิ้งน้อยค่าอายุสลัดจ์ก็จะเพิ่มขึ้น การลดอายุสลัดจ์จะทำให้มีน้ำหนักของจุลินทรีย์ที่ต้องนำไปทิ้งเพิ่มขึ้น เนื่องจากจุลินทรีย์มีอัตราการเจริญเติบโตสูงขึ้น แต่ถ้าเพิ่มอายุสลัดจ์จะทำให้เกิดผลตรงข้าม การปรับค่าอายุสลัดจ์ในแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 1-3 เท่าของค่าอายุสลัดจ์ เพื่อให้ระบบปนับตัวอยู่ในสภาวะคงที่ และจะต้องติดตามคำนวณค่าน้ำหนักของ MLSS และปริมาณจุลินทรีย์ที่ต้องนำไปทิ้ง จนกว่ามีค่าไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก

 

รูปแบบการควบคุมระบบ AS แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังแสดงในตาราง

 
   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


6.ปัญหาที่พบบ่อยและแนวทางแก้ไข

6.1น้ำทิ้งไม่ผ่านมาตรฐาน

1. ค่าบีโอดีไม่ผ่านมาตรฐาน

ตารางแสดงสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาค่าบีโอดีไม่ผ่านมาตรฐาน

 

 

 

 

 

 

 


2.ปริมาณของแข็งแขวนลอยไม่ผ่านมาตรฐานฯ

ตารางแสดงสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาค่าปริมาณของแข็งแขวนลอยไม่ผ่านมาตรฐาน

 
   

 

 

 

 



3.ค่าไนโตรเจนในรูปทีเคเอ็นในผ่านมาตรฐาน

ตารางแสดงสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาค่าไนโตรเจนในรูปทีเคเอ็นไม่ผ่านมาตรฐาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


4.ค่าซัลไฟด์เกิน

โรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม ที่ดินจัดสรร ไม่ควรเกิน 1 มก./ล. ยกเว้น บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งและน้ำกร่อย อยู่ไม่เกิน 0.01 มก./ล.

ตารางแสดงสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาค่าซัลไฟด์ไม่ผ่านมาตรฐาน

 

 

 

 

 

 

5.ค่า FOG เกิน

ตารางแสดงสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาค่า FOG ไม่ผ่านมาตรฐาน

 

 


 

6.ค่า TDS เกิน

ตารางแสดงสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาค่า TDS ไม่ผ่านมาตรฐาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

6.2 ปัญหาจากระบบบำบัดน้ำเสียไม่สมบูรณ์

1.อุปกรณ์เครื่องจักรกลชำรุด

เครื่องเติมอากาศประเภท Submersible Aerator

ระบบบำบัดน้ำเสียประเภท AS สำหรับอาคารประเภท ก หรือ ข ซึ่งเป็นระบบขนาดเล็กมักนิยมใช้เครื่องเติมอากาศประเภท Submersible Aerator เนื่องจากประหยัดพื้นที่โดยสามารถวางในถังเติมอากาศและไม่มีเสียงรบกวนการชำรุดของเครื่องเดิมอากาศย่อมส่งผลกระทบต่อระบบบำบัดน้ำเสียทันที เนื่องจากจุลินทรีย์ในถังเติมอากาศขาดออกซิเจนในการดำรงชีวิตเป็นผลให้น้ำทิ้งไม่ผ่านมาตรฐานฯ

 
   

 


                                                                                                                             

 

 

 

 

 

 

 

 

                                 เครื่อง Submersible Aerator

ตารางแสดงสาเหตุการชำรุดและแนวทางแก้ไขเครื่องเติมอากาศ Submersible Aerator

 

 

 

 

 

 

 

 

เครื่องเติมอากาศประเภท Air Blower

เป็นเครื่องเติมอากาศติดตั้งแยกจากระบบบำบัดน้ำเสีย ส่งอากาศไปตามท่อผ่านหัวกระจายอากาศ เพื่อจ่ายอากาศให้กับถังเติมอากาศอย่างทั่วถึง ถ้าเครื่องปรับอากาศประเภทนี้ชำรุดจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียเช่นกัน

 

ตารางแสดงสาเหตุการชำรุดและแนวทางแก้ไขเครื่องเติมอากาศ Air Blower

 

 

 

 

เครื่องสูบน้ำ

เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในระบบบำบัดน้ำเสีย ใช้ในการสูบน้ำภายในระบบบำบัดน้ำเสีย เช่น การสูบน้ำเสียเข้าถังเติมอากาศ การสูบตะกอนย้อน ถ้าเครื่องสูบน้ำชำรุด อาจต้องเริ่มต้นระบบใหม่ได้

 


ตารางแสดงสาเหตุการชำรุดและแนวทางแก้ไขเครื่องสูบน้ำ

 

 

 

 

 

 

 

 

2.ระบบท่อและวาล์วชำรุด

ท่อและวาล์ว เป็นอุปกรณ์ใช้ควบคุมการไหลของน้ำเสียในระบบ หากชำรุดจะส่งผลให้ไม่สามารถเดินระบบได้ตามต้องการ

 
   


ตารางแสดงสาเหตุการชำรุดและแนวทางแก้ไขระบบท่อและวาล์วชำรุด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


3.ระบบไฟฟ้าควบคุมชำรุด

ระบบไฟฟ้าควบคุม เป็นศูนย์ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เครื่องจักรกลในระบบ หากชำรุดจะส่งผลให้อุปกรณ์เครื่องจักรกลไม่ทำงานหรือทำให้ระบบเสียหาย

 
   


ตารางแสดงสาเหตุการชำรุดและแนวทางแก้ไขระบบไฟฟ้าควบคุมชำรุด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


6.3 ปัญหาในการควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย

1.ปัญหาตะกอนลอยที่ผิวหน้าถังตกตะกอน

 
   


ตารางแสดงสาเหตุการชำรุดและแนวทางแก้ไขปัญหาตะกอนลอยที่ผิวหน้าถังตกตะกอน


 


2.ปริมาณมวลตะกอนจุลินทรีย์ (MLSS) ในถังเติมอากาศต่ำ

ต้องควบคุมปริมาณมวลตะกอนจุลินทรีย์ให้เหมาะสมกับปริมาณสารอินทรีย์ดข้าระบบบำบัดน้ำเสีย (ค่าบีโอดี) หากมีปริมาณมวลตะกอนจุลินทรีย์ต่ำจะส่งผลให้ลักษณะน้ำทิ้งไม่ผ่านมาตรฐานฯ ถ้าถังเติมอากาศ มีปริมาณมวลตะกอนจุลินทรีย์ต่ำ น้ำจะมีลักษณะใส แต่ถ้าถังเติมอากาศมีมวลตะกอนจุลินทรีย์เหมาะสมจะเห็นน้ำมีสีออกน้ำตาล

 
   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ตารางแสดงสาเหตุการชำรุดและแนวทางแก้ไขปัญหาปริมาณมวลตะกอนจุลินทรีย์ (MLSS) ในถังเติมอากาศ


 

3.ตะกอนไม่จมตัวลงในถังตกตะกอน

ตารางแสดงปัญหาตะกอนไม่จมและแนวทางในการควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ระบบบำบัดน้ำเสียที่เกิดปัญหามวลตะกอนจุลินทรีย์ต่ำหรือปัญหาอื่นๆ ที่ทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียล่ม ผู้ดูแลต้องดำเนินการเดินระบบใหม่เพื่อให้ระบบสามารถกลับมาใช้ได้ปกติ

แนวทางการเดินระบบใหม่ มีดังนี้

  1. ตรวจสอบปรับปรุงสภาพโครงสร้างถังบำบัดน้ำเสียให้อยู่ในสภาพทำงานได้อย่างปกติ ได้แก่
  • ไม่มีการตกค้างหรือการทับถมของตะกอนบริเวณมุมถังของถังเติมอากาศและถังตกตะกอน
  • สภาพทางน้ำเข้าถังตกตะกอนควรอยู่ในสภาพใช้งานได้ดี
  • ไม่มีการรั่วซึมหรือการไหลลัดวงจรภายในระบบบำบัดน้ำเสีย
  1. ตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องจักรกลให้อยู่ในสภาพใช้งาน ได้แก่
  • เครื่องเติมอากาศสามารถทำงานได้ดี
  • ตำแหน่งเครื่องเติมอากาศใต้น้ำ หรือหัวกระจายอากาศต้องวางอยู่ในตำแหน่งที่สามารถจ่ายอากาศและกวนผสมน้ำได้อย่างทั่วถึง
  • เครื่องสูบตะกอนย้อนกลับได้ตั้งค่าการทำงานได้อย่างเหมาะสม
  1. เริ่มสูบน้ำเสียเข้าถังเติมอากาศพร้อมจ่ายอากาศอย่างเพียงพอ โดยน้ำเสียที่เข้าระบบบำบัดน้ำเสียควรเริ่มที่ประมาณ 50% ของปริมาณน้ำเสียจริงและค่อย ๆ เพิ่มปริมาณน้ำเสียจนครบ 100% เพื่อเป็นการปรับสภาพให้ระบบบำบัดน้ำเสียคุ้นเคยกับน้ำเสีย
  2. การเลี้ยงมวลตะกอนจุลินทรีย์

4.1   การเติมหัวเชื้อหรือตะกอนจุลินทรีย์

เพื่อให้ระบบบำบัดน้ำเสียสามารถทำงานได้เร็วขึ้น โดยควรเลือกใช้หัวเชื้อจากระบบบำบัดน้ำเสียประเภทเดียวกันและบำบัดน้ำเสียที่มีลักษณะคล้ายกัน ในการเริ่มเดินระบบควรกำหนดให้มีมวลตะกอนจุลินทรีย์ในถังเติมอากาศประมาณ 500 mg/ โดยสามารถ คำนวณหาปริมาณหัวเชื้อ ดังนี้

 

 

 

 

ปกติความเข้มข้นของหัวเชื้อในระบบ AS มีค่าระหว่าง 8,000 - 12,000 mg/l หรืออาจสอบถามข้อมูลจากหน่วยงานที่ติดต่อขอหัวเชื้อ

4.2 การเลี้ยงเชื้อจากน้ำเสีย

การเริ่มเดินระบบสามารถเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์จากน้ำเสียที่เข้าระบบได้ เนื่องจากในน้ำเสียมีจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียโดยระบบสามารถเพาะเชื้อ และคัดสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่เหมาะสมกับระบบบำบัดน้ำเสียได้ด้วยตนเองแต่ต้องใช้เวลาในการเริ่มเดินระบบจึงไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควร

  1. การตรวจสอบระบบขณะเริ่มเดินระบบ

5.1 มวลตะกอนจุลินทรีย์ (MISS)

เป้าหมายของการเริ่มเดินระบบเพื่อให้ระบบบำบัดน้ำเสียมีสภาวะคงที่ พิจารณาจากค่ามวลตะกอนจุลินทรีย์ ในระบบAS ควรมีมวลตะกอนจุลินทรีย์มีค่าระหว่าง 1,500 - 3,000 mg/l ซึ่งต้องพิจารณาควบคู่กับค่า F/M  ที่ออกแบบหรือกำหนดขึ้น การติดตามค่ามวลตะกอนจุลินทรีย์ต้องวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการน้ำเสียจึงไม่สะดวกกับผู้ประกอบการ ในทางปฏิบัติสำหรับระบบบำบัดน้ำเสียขนาดเล็กที่ไม่มีห้องปฏิบัติการน้ำเสียนิยมใช้การตรวจวัดค่า SV30, เพื่อใช้ประมาณการค่ามวลตะกอนจุลินทรีย์ ปกติควรเลี้ยงให้ขั้นตะกอนมีค่า SV30, ประมาณ 150 - 300 ml/l ซึ่งประมาณการค่ามวลตะกอนจุลินทรีย์ประมาณ 1,500 - 2,500 mg/l

5.2 ค่าออกซิเจนละลาย

ค่าออกซิเจนละลายในถังเติมอากาศควรมีค่าประมาณ 1 - 2 m9/ วิเคราะห์ด้วยเครื่องวัด ค่าออกซิเจนละลายประเภทชุดทดสอบภาคสนาม (DO Test Kit)

5.3 ค่าพีเอช

ค่าพีเอชควรมีค่าระหว่าง 6.5 - 7.5 สามารถตรวจสอบได้โดยกระดาษลิตมัส หรือเครื่องวัดประเภท ชุดทดสอบภาคสนาม (pH Test KI)

5.4 ตรวจสอบสังเกตสภาพน้ำเสียในถังเติมอากาศ เช่น สีต้องไม่มีสีดำ ไม่มีฟองและกลิ่นเหม็นเปรี้ยวเมื่อระบบบำบัดน้ำเสียมีค่ามวลตะกอนจุลินทรีย์และประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียเริ่มมีค่าคงที่แสดงว่าระบบบำบัดน้ำเสียสามารถรองรับน้ำเสียได้เป็นปกติ

  1. ตรวจสอบปริมาณการสูบตะกอนย้อนกลับ ในช่วงเริ่มเดินระบบควรสูบตะกอนย้อนกลับทั้งหมด 100% โดยไม่มีการทิ้งตะกอนออกเพื่อให้มวลตะกอนจุลินทรีย์ในถังเติมอากาศมีปริมาณ ที่เหมาะสมและคงที่
  2. ระยะเวลาการเริ่มเดินระบบในระบบ AS ปกติจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน สำหรับการเติมหัวเชื้อในถังเติมอากาศ ส่วนการเริ่มเดินระบบด้วยการเลี้ยงใช้จุลินทรีย์จากน้ำเสียเองอาจต้องใช้เวลานานกว่านี้ซึ่งอาจต้องใช้เวลาประมาณ 1 ถึง 3 เดือน

6.4 ปัญหาด้านการจัดการน้ำเสีย

  1. ผู้ดูแลระบบขาดความรู้ในการเดินระบบที่ถูกวิธี

ส่วนใหญ่เกิดจากการเดินระบบที่ไม่ถูกวิธี เช่น ปัญหาตะกอนลอย มวลตะกอนจุลินทรีย์น้อย ซึ่งมีผลตั้งแต่ระบบบำบัดน้ำเสียทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควรจนถึงน้ำทิ้งไม่ผ่านมาตรฐานฯ

ตารางแสดงข้อเสนอการแก้ปัญหาผู้ดูแลระบบขาดความรู้ในการเดินระบบที่ถูกวิธี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  1. ขาดงบประมาณในการปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสีย

เมื่ออุปกรณ์เครื่องจักรกลชำรุดและไม่มีงบประมาณในการปรับปรุงซ่อมแซม ส่งผลให้ระบบบำบัดน้ำเสียทำงานไม่สมบูรณ์ และทำให้น้ำไม่ผ่านมาตรฐาน

ตารางแสดงข้อเสนอการแก้ปัญหาขาดงบประมาณในการปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสีย

 

 

 

 

 


 

7.ข้อคำนึกถึงและการบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสีย

7.1ข้อควรคำนึงถึงเกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสีย

1.การระบายอากาศ

ความสำคัญของการระบายอากาศของระบบบำบัดน้ำเสียขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้ง ลักษณะการออกแบบ  และเครื่องจักรที่ใช้ ถ้าออกแบบเป็นถังเปิดออกสู่บรรยากาศภายนอก และแยกถังต่างๆ ออกเป็นอิสระก็สามารถใช้การระบายอากาศตามธรรมชาติได้ แต่ต้องระวังเรื่องกลิ่น ไอน้ำและฟองแต่ถ้าเป็นระบบที่ก่อสร้างมิดชิดก็จำเป็นที่จะต้องมีระบบระบายอากาศที่ดีพอปริมาณการถ่ายเทอากาศที่คำนวณได้จากปริมาตรของอากาศในห้อง ไม่ควรต่ำกว่า 15 ครั้งต่อชั่วโมงและอากาศที่ระบายออกจากระบบควรปล่อยออกที่จุดสูงสุดของอาคาร หรือในบริเวณที่ไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ

2.การป้องกันน้ำท่วม

ถ้าระดับพื้นของโรงบำบัดน้ำเสียอยู่ต่ำกว่าระดับพื้นดินภายนอก จะต้องเตรียมบ่อพักและเครื่องสูบน้ำเอาไว้ที่ระดับต่ำสุด เพื่อสูบน้ำที่อาจเกิดจากการรั่วซึมหรืออุบัติเหตุเครื่องสูบน้ำนี้ต้องต่อเข้ากับระบบจ่ายไฟฟ้าสำรองของอาคารด้วย

3.ไฟฟ้าฉุกเฉิน

ต้องมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อจ่ายไฟฟ้าฉุกเฉินให้กับระบบที่จำเป็นในกรณีที่ไฟฟ้าเมนดับ เช่น เครื่องสูบน้ำทิ้งและเครื่องจักรอื่นที่จำเป็น เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อระบบโดยส่วนรวม

4.ไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน

dki ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินซึ่งอาจใช้แบตเตอรี่ โดยติดตั้งเอาไว้ตามบริเวณทางเดินตามความเหมาะสมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินต้องสามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติหากเกิดไฟฟ้าดับขึ้น

5.ระบบควบคุมและอำนวยความสะดวก

  • เครื่องวัดพลังงานไฟฟ้า ติดตั้งเพื่อวัดพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งหมดของระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งจะมีประโยชน์ในการควบคุมการประหยัดพลังงาน
  • เครื่องวัดชั่วโมงเวลาทำงาน ติดตั้งเพื่อวัดระยะเวลาการทำงานของเครื่องไฟฟ้าที่มีการกำหนดระยะเวลาในการซ่อมบำรุงที่แน่นอน เช่น เครื่องสูบน้ำ และเพื่อความสะดวกในการใช้เครื่องสำรอง
  • เครื่องมือวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ เครื่องมือที่จำเป็นในการควบคุมการทำงานของระบบ เช่นเครื่องวัด pH เครื่องแก้ว และสารเคมี
  • ท่อระบายน้ำของถังต่าง ๆ ที่ระดับของถังทุกถังควรทำเป็นหลุมลึกประมาณ 0.5 เมตร เพื่อใช้ดูดหรือระบายน้ำออกจากถังในกรณีที่ต้องการซ่อมบำรุงถังหรืออุปกรณ์ต่างๆ  ท่อระบายน้ำทิ้งนี้อาจต่อไปลงบ่อพักน้ำเสียที่ก่อสร้างเอาไว้ที่ระดับต่ำสุด หรือใช้เครื่องสูบน้ำซึ่งได้ติดตั้งเอาไว้เพื่อการสูบน้ำทิ้งโดยเฉพาะก็ได้

6.ระบบซ่อมบำรุงรักษา

  • รอกไฟฟ้า เพื่อใช้ยกและลำเลียงและซ่อมเครื่องจักร ควรติดตั้งเครื่องจักรในแนวเดียวกับรอกไฟฟ้า โดยไม่มีสิ่งก่อสร้างหรีอวางเส้นท่อขวางทางวิ่งของรอกไฟฟ้า
  • เครื่องจักรสำรอง เช่น เครื่องสูบน้ำ เครื่องเติมอากาศ ควรมีเครื่องจักรสำรองเมื่อเกิดการชำรุดเสียหาย
  • จัดทำแผนช่อมบำรุง ควรจัดทำแผนการช่อมบำรุงให้แก่เครื่องจักรแต่ละเครื่อง เพื่อป้องกันการชำรุดเสียหาย

 

 

7.การควบคุมการทำงานของระบบ

ผู้ออกแบบต้องเป็นผู้จัดทำคู่มือสำหรับควบคุมการทำงาน เนื่องจากเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขต่างๆ ตั้งแต่การออกแบบกระบวนการบำบัดและเครื่องจักรต่าง ๆ  โดยในคู่มือควรประกอบด้วย วิธีและขั้นตอนเริ่มการทำงาน(start up) วิธีควบคุมระบบตามปกติ แผนการซ่อมบำรุง รวมถึงวิธีแก้ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

 

7.2การบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในระบบบำบัดน้ำเสีย

 

เครื่องสูบน้ำ

ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่นิยมใช้เครื่องสูบน้ำแบบจุ่มแขในน้ำ เนื่องจากสะดวกในการใช้ โดยจุ่มเครื่องสูบน้ำทั้งตัวลงในบ่อสูบ มอเตอร์และห้องบังคับน้ำจึงต้องออกแบบเป็นพิเศษเพื่อป้องกันมิให้น้ำรั่วซึมเข้าห้องขับเคลื่อนและไม่เกิดไฟช็อตได้ การบำรุงรักษา เครื่องสูบน้ำจะต้องทำควบคู่ไปกับส่วนประกอบที่เกี่ยวข้อง เช่น บ่อสูบ สายไฟ ลูกลอย

การตรวจสอบประจำและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำล่วงหน้าอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เครื่องสูบน้ำมีประสิทธิภาพในการทำงาน และมีอายุการใช้งานนานขึ้น

  1. ทำความสะอาดบ่อสูบมิให้มีเศษไม้ ก้อนหิน พลาสติก ซึ่งอาจทำให้เกิดการอุดตันแก่เครื่องสูบน้ำได้ โดยทำความสะอาดเดือนละครั้ง
  2. ควรตรวจสอบระดับน้ำในบ่อสูบให้มีระดับห่างตัวเรือนเครื่องสูบตลอดเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศถูกดูดเข้าเครื่อง หรือเครื่องสูบน้ำอาจจะร้อนจนถึงระดับเกิดความเสียหายได้
  3. ทำความสะอาดลูกลอยและสายปรับระดับ  เปลี่ยนหรือซ่อมแซมชิ้นส่วนที่ชำรุดโดยปกติควรทำความสะอาดเดือนละครั้ง
  4. ตรวจการทำงานของตู้ควบคุมอัตโนมัติโดยช่างไฟฟ้าเพื่อดูกระแสไฟฟ้าที่เข้ามอเตอร์ ควรตรวจทุกวัน
  5. ตรวจสอบน้ำมันหล่อลื่นซีลในห้องน้ำมัน โดยการเปิดปลั๊กอุดแล้วเทน้ำมันออกตรวจสอบ หากมีน้ำเข้าน้ำมันจะมีสีขาวขุ่น จะต้องถ่ายน้ำมันเครื่อง การถ่ายน้ำมันเครื่องออกจะต้องผ่านทางรูน้ำมันออก โดยการคลายเกลียวออก แล้วจับเครื่องสูบวางในแนวนอนให้รูน้ำมันออกอยู่ด้านล่าง จากนั้นก็คลายเกลียวรูน้ำมันเข้า น้ำมันจะไหลออกมาเอง

บ่อสูบน้ำ

  1. ปรับระดับของลูกลอยเพื่อให้เครื่องสูบน้ำทำงานได้เหมาะสมกับอัตราน้ำเสียเข้า โดยปกติควรปรับลูกลอยให้ทำงานเฉลี่ย 15 นาที/ครั้ง และให้หยุดพักทำงานแต่ละช่วงเวลา 15 นาที
  2. ควรมีเครื่องสูบน้ำสำรองเผื่อในกรณีที่เกิดเครื่องสูบน้ำเสียฉุกเฉิน
  3. ควรตัดวงจรไฟฟ้าก่อนที่จะลงไปซ่อมในบ่อสูบ
  4. ควรเปิดฝาบ่อสูบทิ้งไว้อย่างน้อยครึ่งชั่วโมง เพื่อให้ก๊าซที่สะสมอยู่ในบ่อสูบระเหยออกไปก่อนที่จะเข้าไปซ่อมบำรุง
  5. ควรมีผู้ร่วมงานอย่างน้อย 1 คน เพื่อคอยช่วยดึงเชือกซึ่งผูกติดกับเอวของผู้ที่ลงไปซ่อมบำรุงในบ่อสูบ
  6. ไม่ควรสูบบุหรี่ขณะลงไปในบ่อสูบ
  7. ทาสีกันสนิมบันไดลงบ่อสูบทุกๆ 6 เดือน

 

 

ลูกลอย

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องสูบน้ำ ลูกลอยประกอบด้วยสวิตช์ปรอทจะไหลปิดวงจรซึ่งจะทำให้เกิดกระแสไฟไหลในวงจร จะทำให้เครื่องสูบน้ำเริ่มทำงาน

หัวฟู่อากาศ

  1. ควรอัดอากาศในปริมาณที่สูงเพื่อไล่เศษตะกอน
  2. ตรวจสอบการกระจายอากาศให้ทั่วถึง กรณีที่ปริมาณอากาศน้อยเกินไป ควรตรวจเช็คอุปกรณ์พร้อม
  3. ทำความสะอาด และเพิ่มปริมาณอากาศให้มากขึ้น
  4. ตรวจสอบรอยรั่วตามท่อหลักเป็นประจำ
  5. หมั่นตรวจตะกอนสะสมอยู่ใต้ระบบเติมอากาศที่พื้นบ่อ ควรลดปริมาณตะกอนสะสมหรือใช้เครื่องผสม (Mixer) เผื่อกวนน้ำ
  6. ตรวจสอบปริมาณออกซิเจนเป็นประจำเพื่อจะได้ปรับเพิ่มปริมาณอากาศให้พอเพียง

เครื่องเป่าอากาศ

  1. ต้องสังเกตการเป่าอากาศเกิดขึ้นปกติหรือไม่  ถ้ามีอากาศน้อยควรตรวจสอบระบบท่อว่ามีการรั่วไหลหรือไม่
  2. ตรวจสอบระดับเสียงดังเมื่อเดินเครื่องหรือการสั่นสะเทือน ถ้าสูงมากควรตรวจสอบการหมุนของใบพัดว่าหมุนสมดุลหรือไม่ และตรวจสอบระบบเกียร์
  3. หากเครื่องร้อนผิดปกติ ให้ตรวจสอบน้ำมันหล่อลื่น การหล่อเย็นน้ำมันหล่อลื่นไม่พอเพียงหรือการใช้น้ำมันหล่อลื่นผิดประเภท หรือเกิดจากแผ่นกรองน้ำมันอุดตัน

ใบพัดเติมอากาศ

เครื่องเติมอากาศระบบบำบัดน้ำเสียแบบใบพัด ซึ่งทำหน้าที่เติมอากาศโดยการตีน้ำให้เป็นฝอยสัมผัสกับอากาศ และทำหน้าที่ทำให้น้ำไหลวนเกิดการผสมกันอย่างทั่วถึง

  1. อัดจารบีแบริ่งลูกปืน อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
  2. ทาสีกันสนิมใหม่ทุก 6 เดือน
  3. ตรวจสอบศูนย์เพลาทุก 6 เดือน
  4. ปรับระดับใบพัดเติมอากาศให้เหมาะสม

เครื่องตัดวงจรไฟฟ้าฉุกเฉิน

เป็นส่วนประกอบระบบไฟฟ้าที่ทำหน้าที่ป้องกันการลัดวงจรไฟฟ้า หรือที่เรียกว่าไฟฟ้าช็อต เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลในวงจรสูงกว่าที่กำหนด ทำหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้าไม่ให้ไหลในวงจร ระบบจะหยุดทำงานทันที ดังนั้นก่อนจะสับขา

ฟิวส์

เป็นตัวป้องกันการลัดวงจรไฟฟ้าเหมือน Circuit Breaker แต่ต้องเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ทุกครั้ง ถ้าเกิดกระแสไฟ

ลัดวงจรสูง ฟิวส์จะขาด

ลานตากสลัดจ์

  1. ควรสูบสลัดจ์เข้าสู่ลานตากเพียงลานเดียว ความสูงในลานตากประมาณ 20 - 25 ซม.
  2. ใช้เวลาในการตากสลัดจ์ประมาณ 1 - 2 สัปดาห์
  3. ในกรณีมีสลัดจ์มากต้องเพิ่มลานตากให้เหมาะสม และสามารถหมุนเวียนการใช้งาน
  4. ปรับชั้นทรายให้มีความหนาทุกครั้งที่มีการลอกแผ่นสลัดจ์แห้งออกแล้ว
  5. ไม่ควรเหยียบย่ำชั้นทราย

 เครื่องรีดน้ำ

  • ก่อนเดินเครื่องควรตรวจสอบ
    • เปิดเครื่องสูบสลัดจ์ให้ทำงาน
    • ตรวจสอบ Emergency Switch
    • ตรวจสอบตำแหน่งสายพาน
    • เปิด cake Conveyor
    • กรณีเครื่องรีดน้ำหยุดทำงาน ให้ตรวจสอบว่า
      • สายพานอยู่ในตำแหน่งถูกต้องหรือไม่
      • มีสลัดจ์เข้าระบบหรือไม่
      • การรวมตัวของสลัดจ์กับโพลิเมอร์ดีหรือไม่

 


 

8.การวิเคราะห์ปัญหาระบบบำบัดรน้ำเสียอาคารและแนวทางการปรับปรุง

ตารางแสดงขั้นตอนเพื่อวิเคราะห์และปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพ สำหรับน้ำทิ้งจากอาคารที่ไม่สามารถควบคุมให้ผ่านมาตรฐานได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8.1 การตรวจสอบข้อมูล รูปแบบ และรายละเอียดระบบบำบัดน้ำเสีย

การตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสีย ผู้ตรวจสอบต้องรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียให้มากที่สุด เพื่อดูว่าระบบบำบัดเป็นประเภทไหน

  • แบบก่อสร้างจริง เป็นข้อมูลเกี่ยวกับแบบระบบบำบัดน้ำเสีย ขนาดถัง ตำแหน่งอุปกรณ์ต่างๆ แนวท่อและวาล์ว
  • คู่มือการเดินระบบ ซึ่งประกอบด้วยความรู้พื้นฐานของระบบบำบัดน้ำเสีย ข้อมูลอุปกรณ์ วิธีการควบคุม
  • รายการคำนวณประกอบแบบ เป็นข้อมูลในการออกแบบ เช่น ความสามารถในการรองรับน้ำเสีย ลักษณะน้ำเข้าระบบ
  1. รูปแบบระบบน้ำเสีย ตรวจสอบจากการสอบถามผู้ดูแลระบบโดยผู้ตรวจสอบต้องพิจารณาและวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของระบบบำบัดนั้นๆ

 


 

ตัวอย่างรูปแบบระบบบำบัดน้ำเสีย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  1. ขนาดถังระบบบำบัด ทำการตรวจวัดขนาดถังบำบัดน้ำเสีย ดูจำนวน และ กว้าง x ยาว x สูง ของถัง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  1. ข้อมูลอุปกรณ์และเครื่องจักรกล จำแนกประเภท จำนวน ยี่ห้อ รุ่น สภาพการใช้งาน จดบันทึกลงตาราง
  2. แนวท่อและวาล์ว บอกถึงทิศทางการไหลของน้ำเสีย ตรวจสอบลำบากจำเป็นต้องสอบถามข้อมูลจากผู้ดูแลระบบ
  3. ระบบไฟฟ้าควบคุม ตรวจสอบจำนวนเบรกเกอร์ควบคุมอุปกรณ์ว่าตรงกับจำนวนอุปกรณ์ในระบบบำบัดหรือไม่ ตรวจสอบสภาพการใช้งาน
  4. การควบคุมระบบในปัจจุบัน ข้อมูลการควบคุมระบบเพื่อตรวจสอบว่าผู้ดูแลระบบมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบหรือไม่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8.2 การตรวจสอบปริมาณและลักษณะน้ำเสีย

ปริมาณและลักษณะน้ำเสีย ที่เข้าระบบเป็นข้อมูลสำคัญในการตรวจสอบระบบ ซึ่งจะใช้เป็นข้อมูลในการตรวจสอบความสามารถในการรองรับน้ำเสียเข้าระบบ แต่การประมาณที่ง่ายที่สุดคือประมาณจากน้ำประปา โดยปริมาณน้ำเสียเกิดขึ้นประมาณร้อยละ 80 ของปริมาณน้ำประปา

8.3 การตรวจสอบความสามารถในการรองรับน้ำเสียของระบบ

การนำเอาข้อมูลปริมาณลักษณะน้ำเสีย ขนาดถัง และอุปกรณ์เครื่องจักรกล มาตรวจสอบรายการคำนวณ และดูความสามารถการรองรับน้ำเสียในปัจจุบัน โดยแยกตามหน่วยบำบัด

 

 

 

 

เกณฑ์การออกแบบ

 

 

 

8.4 การตรวจสอบสถานภาพของระบบ

บ่งบอกถึงการทำงานของระบบว่าสมบูรณ์เพียงใด

1. สีของตะกอน ถังเติมอากาศที่ดีควรเป็นสีน้ำตาลเข้ม

2. กลิ่น กลิ่นของน้ำในถังเติมอากาศ ควรมีกลิ่นคล้ายดิน

3. ฟอง บอกถึงลักษณะการทำงานของระบบได้หลายอย่าง ฟองสีขาว-อายตะกอนจุลินทรีย์น้อยเกินไปต้องลดปริมาณการทิ้งตะกอนออกจากระบบ ฟองสีน้ำตาล-อายุตะกอนจุลินทรีย์สูงเกินไปต้องทิ้งตะกอนออกจากระบบมากขึ้น

4. ลักษณะการเติมอากาศ ต้องสามารถกวนผสมได้อย่างทั่วถึงทั้งบ่อ

5. ตะกอนลอย เกิดได้หลายสาเหตุ

  • มีน้ำมันหลุดเข้ามาในระบบมากทำให้ตะกอนจุลินทรีย์ตกตะกอนไม่ดี
  • การเติมอากาศมากเกินไป
  • การเกิดมีตะกอนจุลินทรีย์ค้างอยู่ในถังตกตะกอนนานเกินไป

6. ลักษณะของน้ำทิ้ง เป็นตัวชี้วีดประสิทธิภาพการทำงานของระบบ หากน้ำทิ้งขุ่นอาจจะมาจากถังตกตะกอนทำงานไม่ดีอาจเกิดจากการน้ำไหลลัดวงจร

8.5 การวิเคราะห์ปัญหาและแก้ไข

ผู้ตรวจสอบต้องวิเคราะห์ปัญหาและระบุสาเหตุพร้อมทั้งกำหนดวิธีการแก้ไข

ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหา

  • ดูว่าพารามิเตอร์ไหนไม่ผ่านมาตรฐาน
  • ตั้งสมมติฐานที่ทำให้เกิดปัญหา
  • ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสีย
  • สอบถามผู้ดูแลระบบเกี่ยวกับวิธีการเดินระบบในปัจจุบัน
  • ตรวจสอบระบบตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
  • ตัดประเด็นสมมติฐานที่ตรวจสอบแล้วว่าไม่ใช่สาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหา
  • สรุปปัญหา และแนวทางแก้ไข

8.6 การวางแผนงานการปรับปรุงระบบ

เมื่อรู้วิธีแก้ไข ผู้ตรวจสอบต้องวางแผนการปรับปรุงโดยกำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน ปนะมาณค่าใช่จ่าย และกำหนดระยะเวลา

8.7สรุปผลการปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสีย

เมื่อปรับปรุงเสร็จแล้ว ผู้ตรวจสอบต้องทำการติดตามผลการดำเนินงานและสรุปผลการปรับปรุง สรุประยะเวลาและค่าใช้จ่าย เพื่อบันทึกข้อมูลเป็นผลดำเนินงานและเป็นประโยชน์ต่อผู้ดูแลระบบใช้เป็นแนวทางแก้ไขระบบบำบัดน้ำเสียในอนาคต

 
   

 

 

Visitors: 265,313