วิธีตรวจเช็กระบบบำบัดน้ำเสีย

 ข้อเสนอแนะในการดูแลและควบคุมคุณภาพน้ำทิ้ง

 

           เนื่องจาก TDS เป็นค่าที่ระบบบำบัดน้ำเสีย ไม่สามารถบำบัดได้ในวิธีปกติ สามารถบำบัดได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ค่า TDS ที่เกิดขึ้นภายในอาคาร มักจะเกิดจากสารละลายในน้ำ เช่นน้ำยาต่างๆ ที่ใช้ภายในอาคาร น้ำยาซักล้าง ผงซักฟอก น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาแอร์ เป็นต้น การแก้ปัญหา ในส่วนของค่า TDS จำเป็นต้องมีการลดที่แหล่งกำเนิด หากสามารถแยกน้ำในส่วนที่มีค่า TDS สูงๆ แต่ไม่มีความสกปรกมาก นำไปใช้ในกิจกรรมอื่นๆ เช่นรถน้ำต้นไม้ได้ ซึ่งนอกจากเป็นการลดค่า TDS ที่จะเข้าระบบแล้ว ยังช่วยลดโหลดหรือปริมาณน้ำที่เข้าในระบบบำบัดน้ำเสียได้อีกด้วย หากไม่สามารถแยกน้ำที่มีค่า TDS สูงได้ ให้ควบคุมปริมาณการใช้น้ำยาต่างๆ ภายในอาคารอย่างเหมาะสม จะสามารถช่วยลดปริมาณความสกปรกในรูปของ TDS ให้สามารถผ่านมาตรฐานได้

 

               ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำทิ้งของอาคารพบว่าดัชนีที่ตรวจวิเคราะห์ส่วนใหญ่มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานกำหนด ทางบริษัทฯ ควรควบคุมและดูแลระบบบำบัดน้ำเสียโดยรวม เพื่อให้ประสิทธิภาพของระบบบำบัดคงสภาพที่ดีต่อไปหรือดียิ่งขึ้น ดังนี้

             (1)   ผู้ดูแลควรตรวจสอบการทำงานของระบบเติมอากาศในบ่อเติมอากาศ และอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบบำบัดน้ำเสีย ถ้าพบอุปกรณ์ที่ชำรุดควรดำเนินการแก้ไขทันที

                (2)  จากการตรวจวัดค่า SV 30 พบว่ามีปริมาณตะกอนจุลินทรีย์น้อยเกินไปมีค่าเท่ากับ 50 ml/l เจ้าหน้าโครงการที่ควรทำการเพิ่มระยะเวลาในการสูบตะกอนกลับให้มากขึ้น เพื่ออัตราการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ภายในบ่อเติมอากาศตะกอนจุลินทรีย์

             (3)  เมื่อเจ้าหน้าที่โครงการปฏิบัติตามข้อ 2 แล้วพบว่าตะกอนจุลินทรีย์เพิ่มเพียงเล็กน้อยหรือไม่เพิ่มขึ้น ให้นำตะกอนจุลินทรีย์จากบ่อเก็บตะกอนกลับมายังบ่อเติมอากาศอีกครั้ง

             (4)  เมื่อปฏิบัติตามข้อ 2และ3 แล้วพบว่ามีตะกอนจุลินทรีย์เพิ่มเพียงเล็กน้อยหรือไม่เพิ่มขึ้น ควรเติมตะกอนจุลินทรีย์ชนิดสด(Start up) อย่าง 1-2 ต้น เพื่อทดแทนจุลินทรีย์ที่ตายไป และเพื่อเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในบ่อเติมอากาศให้เพียงพอต่ออัตราการบำบัดในระบบบำบัดน้ำเสีย  

 

แนวการแก้ไข TDS

             1. ลดปริมาณแหล่งกำเนิดของแข็งละลายน้ำจากแหล่งกำเนิดโดยลดปริมาณสารเคมี

             2. การล้างระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อลดการสะสมของปริมาณของแข็งละลายน้ำ

             3. ใช้วิธีการกรองเพื่อลดปริมาณ  TDS ที่ปล่อยออกจากระบบบำบัดน้ำเสีย

             4. การเพิ่มระยะเวลาในการตกตะกอนของ TDS ในระบบบำบัดน้ำเสีย

คำแนะนำการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย

(1) ควบคุมปริมาณน้ำเสียที่เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อป้องกันการเกิดภาวะ Over Loading

(2) สีของสลัดจ์ควรเป็นสีน้ำตาลเข้ม หากพบว่าสลัดจ์มีสีดำคล้ำ แสดงว่าขาดออกซิเจนจึงจำเป็นต้อง เพิ่มอัตราการเติมอากาศ

(3) กลิ่นของจุลินทรีย์ในถังเติมอากาศจะมีกลิ่นอับคล้ายกลิ่นดิน หากมีกลิ่นเหม็นของก๊าซไฮโดรเจน
ซัลไฟด์ แสดงว่าระบบบำบัดน้ำเสียมีอากาศไม่เพียงพอ ต้องเพิ่มอัตราการเติมอากาศ

(4) การเกิดฟองก๊าซในถังตกตะกอน ซึ่งเกิดจากชั้นของระดับสลัดจ์สูงเกินไป หรือเกิดจากจุลินทรีย์ค้างในถังตกตะกอนนานเกินไป ต้องเพิ่มอัตราการสูบสลัดจ์ส่วนเกินทิ้ง

(5) ถ้าพบฟองสีขาวที่ผิวน้ำในถังเติมอากาศแสดงว่า MLSS ในถังเติมอากาศน้อยเกินไป ต้องเพิ่มอัตราการสูบสลัดจ์กลับ และลดอัตราการสูบสลัดจ์ส่วนเกินทิ้ง

(6) ตรวจวัด DO ในระบบบำบัดน้ำเสีย โดยปกติควรควบคุมค่าของ DO ในถังเติมอากาศให้มีค่าไม่ต่ำกว่า 2 มิลลิกรัมต่อลิตร การตรวจวัดควรเก็บหลายตำแหน่งและที่ระดับต่างกัน เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องเติมอากาศ

Visitors: 272,376