เครื่องบีบอัดตะกอน Filter Press


Plate and frame filter อาจเรียกว่า Filter press เป็นเครื่องกรอง (filter) ที่ใช้เพื่อการแยก (separation) ของแข็งออกจากของเหลว ทำงานแบบกะ (batch) ประกอบด้วย ชุดแผ่นกรอง ซึ่งเป็นแผ่นผ้า ซึ่งขึงอยู่ในกรอบ (frame) เรียงกันเป็นชั้นตามแนวนอนโดยของเหลวจะถูกปั๊มเข้าไปในเครื่องกรอง แล้วใช้แรงอัดให้ของเหลวที่กรองได้ (pemeate) ไหลลงสู่ทางออกซึ่งอยู่ที่ฐานของแผ่นกรอง ส่วนกาก (retentate) ถูกกักไว้ระหว่างแผ่นกรอง

การใช้ plate and frame filter ในอุตสาหกรรมอาหาร



1.      รายละเอียดเครื่องอัดตะกอน

 

                ส่วนประกอบของเครื่องอัดกรอง (Filter Press) สามารถอธิบายความสำคัญ และหน้าที่ได้ดังนี้  

                2.1 Stationary Platen

                เป็นแผ่นเหล็กเหนียว ถูกยึดไว้ที่เป็นตัวต้านแรงอัดของ Hydraulic Cylinder ซึ่งอัดมาจาก Moving Platen และยังเป็นตัวยึดสำหรับท่อตะกอนเข้า (Sludge inlet) และน้ำกรองแล้วไหลออกด้านมุมทั้ง 4 ด้าน (Filtrate Outlet)

                2.2 Moving Platen

                เป็นแผ่นเหล็กเหนียวชนิดหนา เพื่อรับแรงอัดจาก Hydraulic Cylinder และถ่ายอัดให้แผ่น Filter Press อย่างสม่ำเสมอ ป้องกันการรั่วของแผ่น ตามแนวประกบอันเกิดจากแรงอัดไม่เท่ากัน

                2.3 Head Stock

                เป็นโครงสร้างส่วนท้ายของ Filter Press เพื่อป้องกันโครงสร้างที่ยึด Hydraulic Cylinder เพื่อสร้างแรงอัดแผ่นกรอง Filter Press โครงสร้างเป็นเหล็กเหนียวเชื่อมประกอบเสริมแรง

                2.4 Side Bar

                เป็นส่วนประกอบที่ทนแรงดึงระหว่าง Stationary Platen และ Head Stock และยังเป็นที่วางแผ่นกรอง และ Moving Platen สร้างจากเหล็กเหนียวทนแรงดึงและมีแผ่นแสตนเลสพับรองล้อเลื่อน (Roller) สำหรับ Moving Platen

                2.5 Closing Device

                ประกอบด้วย Hydraulic Cylinder, Hydraulic Pump ชนิดขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า และเกจวัดความดันขณะใช้งาน Hydraulic Cylinder ความดันสูงสุด 300 kg/ cm2 ความดันที่ใช้ 250 kg/ cm2 60 ตัน เป็นชนิด Double Acting

                2.6 Filter Plate     

                เป็นชนิด Polypropylene Mould Press แบบ Chamber Plate – Close Type ผลิตจากบริษัท  BRIGHT Co.,LTD ประเทศจีน มีความสามารถทนแรงกรองได้ 15 บาร์ (kg/ cm2) และทนแรงอัดจาก Closing Device ไม่เกิน 80 ตันที่ขนาดแผ่นกรอง 800 x 800 มม. ความหนาตะกอน 32 mm.

                2.7 Filter Cloths

                เป็นผ้ากรองชนิด Polypropylene ผลิตโดยการทอและตัดเย็บแบบ Barrel-neck ประสิทธิภาพของการกรองด้วยเครื่อง Filter Press ขึ้นอยู่กับชนิดของผ้าส่วนหนึ่ง

                ข้อควรระวัง ในการใส่ผ้า และเดินเครื่องระวังผ้ายับซึ่งจะทำให้เกิดรอยรั่วระหว่างแผ่นกรอง และเกิดการยืด หรือหดตัวของผ้า เป็นบางส่วนระหว่างรอยยับ ซึ่งมีผลต่อคุณภาพของการกรอง

                2.8 Automatic Plate Shipter

                เป็นส่วนประกอบในการใช้สำหรับเปิดแผ่นกรองโดยอัตโนมัติ หลังจากการอัดตะกอนเสร็จแล้ว

                2.9 Belt Conveyer

                เป็นส่วนที่ใช้ในการลำเลียงตะกอนที่ตกจากเครื่องไปที่กระบะรับตะกอน เพื่อส่งออกไปกำจัดต่อไป

Section B : การติดตั้งและการเดินเครื่อง

1.      การติดตั้ง

  3.1  ฐานรากจะต้องแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักเต็มที่ของ Filter Press ขณะทำงาน

            โดยคำนวณจาก Empty weight + Cake volume x 1.2  (หน่วยเป็น กก.) การยึดติดกับผนัง                  คอนกรีต สามารถยึดได้ทั้งแบบฝัง J-Bolt หรือยึดพุก (กรณีเครื่องขนาดต่ำกว่า 630 mm.) ขนาดของฐานรากดูได้จาก Reference drawing

ข้อควรระวัง   ผ้ากรองของเครื่อง Filter Press เป็น Polypropylene ซึ่งไม่ทนต่อแสง ควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งที่แสงอาทิตย์ส่องถูกเครื่องโดยตรง

   3.2  การปรับตั้งค่า (ALIGNMENT)

             ให้ปรับตั้งที่ Side Bar ให้อยู่ในระดับแนวนอนโดยใช้ระดับน้ำ หากมีการเอียงใช้วิธีชิม (Shimming)    ด้านขาตั้งที่ตั้งขึ้นโดยให้แผ่นชิม เมื่อได้ระดับแล้วให้ขันน๊อตยึดให้แน่นอีกครั้ง และทดสอบระดับใหม่

3.3  การติดตั้งเครื่องกล

          ต้องตรวจสอบและทดสอบเครื่องกลตัวอื่นๆซึ่งเกี่ยวข้อง เช่น Air compressor, Air Blow      mechanism, Sludge pump และตรวจสอบรอยต่อหน้าแปลน และตรวจสอบรอบรั่วของหน้าแปลนทุกตัวใหม่ ก่อนเดินเครื่อง

3.4  การติดตั้งแผ่นกรอง

          ให้เริ่มนับแผ่นกรองจาก Stationary platen แผ่นแรกเป็น head plate และใส่ intermediate plate จนหมด และตามด้วย end plate สังเกต head plate และ end plate จะมี pin cloth สีดำ end plate จะไม่มีช่อง sludge feed ตรงกลาง head plate จะมีช่อง sludge feed ตรงกลาง intermediate plate มีช่อง sludge ตรงกลางและมี pin cloth สีแดง

3.5  การติดตั้งผ้ากรอง

          ผ้ากรองตัดเย็บแบบ Barrel neck เท่านั้น ติดตั้งโดยใช้วิธีสอดเข้าช่องกลาง (Central feed hole) และดึงห่วงตาปลาขึ้นเกี่ยวกับ pin cloth ทั้งสองด้านและมัดด้านข้างเพื่อป้องกันการหลุด





4. การเดินเครื่อง

4.1  การตรวจสอบระบบท่อ Sludge inlet จะต้องไม่มีรอยรั่ว ตรวจสอบความดันปั๊มและทดสอบ relief valve (ถ้ามี) ตรวจสอบท่อระบายน้ำทิ้ง

4.2  ตรวจสอบเครื่อง Filter press ผ้ากรองต้องไม่ยับ แผ่นกรองเมื่อเลื่อนมาประกบกัน จะต้องไม่มีการเหลื่อม ต้องอยู่แนวเส้นตรงเดียวกัน

4.3  ตรวจสอบ Hydraulic ตั้งความดันกระบอกไอโดรลิกที่ 250 Bar ตั้งความดัน Sludge feed ที่ 7 Bar

 

4.4  การเดินเครื่อง ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ

4.4.1  การปิด (CLOSING) เป็นการอัดแผ่นกรองเข้าด้วยกัน โดยกำหนดการตั้งค่าแรงดันที่กระบอกไอโดรลิกที่ 250 Bar โดยเมื่อแรงดันตก High Pressure Pump  จะสร้างแรงดันเพิ่มตามแรงดันลมเพื่อให้แรงดันคงที่

4.4.2  การกรอง (FILTRATION) เปิด sludge feed pump ให้ทำงาน

            หากเป็น Diaphragm pump ให้ตั้งแรงดันลมที่ Regulator ไว้ที่ 7 Bar โดยใช้การสั่งงานผ่าน Solenoid Valve หากการทำงานแบบ Automatic ให้ตั้งค่าการตัดการทำงานด้วย การตั้งค่า Feed Timer ตามจำนวนชั่วโมงที่ได้ทำการทดลองการเดินเครื่อง  

4.4.3  การถ่ายตะกอนทิ้ง (CAKE DISCHARGE)

            เปิดแผ่นกรองโดย

-          เปิดไฮโดรลิกส์ปั้ม อัดน้ำมันเข้ากระบอกไฮโดรลิกส์ด้านหน้า

-          Moving platen จะถูกดึงมาด้านหลัง เลื่อนแผ่นกรองให้แยกออกจากกันทำให้ cake หลุดออกจาก chamber ผู้เดินระบบจะต้องเลื่อนแผ่นกรองทุกแผ่นมาด้านหลังเพื่อให้ cake ตกลงด้านล่าง โดยการทำงานของ Automatic Plate Shifter จะทำงานโดยการเลื่อนเปิดเดินหน้าและถอยหลังมาเกี่ยวแผ่น ด้วยแรงดันจาก Hydraulic Pump ลงไปที่ Belt Conveyer ลำเลียงตะกอนไปด้านหน้าเครื่องที่กระบะรับตะกอน เพื่อส่งออกไปกำจัด

-          เมื่อ cake ตกลงด้านล่างทั้งหมดแล้ว ให้ผู้เดินระบบ (operator) ตรวจสอบการอุดตันของ cake กับผ้ากรอง อาจมี cake เหลือติดค้างและเลื่อนแผ่นกรองอย่าให้ผ้ากรองยับ

-          เลื่อน Moving platen มาตำแหน่งพร้อมใช้งาน และเริ่มการกรองรอบใหม่โดยเริ่มที่ ข้อ 3.3.1

 

 

Section C : การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น

 

                ปัญหาและการแก้ไข ในที่นี้เป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้ในระบบ ปรกติผู้เดินระบบ Operator สามารถ แก้ปัญหาเหล่านี้ได้ทันที หากมีปัญหานอกเหนือจากที่แสดงไว้นี้กรุณาแจ้งให้บริษัทฯ ทราบเพื่อดำเนินการ

                ปัญหา / สาเหตุ                                                    การแก้ไข  

   1   น้ำที่กรองได้ไม่ใส

                 -   ผ้ากรองหยาบไป                                                              เปลี่ยนผ้ากรองให้ละเอียดขึ้น

                -   ผ้ากรองมีรูทะลุ                                                                 เปลี่ยนใหม่ทั้งผืน

                -   ขนาดของ Particles size เล็กไป                                      ให้เติม Filter aid

    2   เกิดการรั่วระหว่างแผ่นกรอง

                -   แรงอัดของ Hydraulic ต่ำ                                                 ปรับตั้งความดันเพิ่มอีก ครั้งละไม่เกิน 30 Bar

             -   ผ้ากรองอัดไม่สนิท                                                ตรวจสอบชนิดของผ้ากรอง

                -   ตะกอนติดผิวหน้าแผ่นกรอง                                            แซะออกโดยใบพายพลาสติก

    3   ไม่เกิด cake ในระหว่างการกรอง

                -   ความเข้มข้นตะกอนน้อยเกินไป                                       เพิ่มความเข้มข้นตะกอนก่อนกรอง

                -   ใช้เวลากรองน้อยเกินไป                                    เพิ่มเวลาการกรอง

                -   ผ้ากรองอุดตัน                                                   ล้างผ้ากรอง หรือเปลี่ยนใหม่

    4   ตะกอนไม่แห้ง

                -   ใช้เวลากรองน้อยเกินไป                                                   เพิ่มเวลากรอง

                -   ใช้ความดันในการกรองต่ำไป                                           เพิ่มความดันในการกรอง

                -   ใช้เวลาเป่าลมน้อยไป                                                       เพิ่มเวลาเป่าลม

    5   ปัญหาของ Hydraulic pump และ Hydraulic Cylinder ศึกษาจาก Manual ของ Hydraulic

 

Section D : การซ่อมบำรุง

 

                เครื่อง Filter Press มีข้อแนะนำให้ดำเนินการตรวจสอบอุปกรณ์ชิ้นส่วนทุก 3 เดือน ตามรายการดังต่อไปนี้

                1. ทั่วๆ ไป

-    ตรวจสอบระบบท่อ ข้อต่อ ท่อลม ท่อตะกอน

-    ทำความสะอาด อุปกรณ์ลม เครื่องกรอง ดูแลรักษาระบบน้ำมันหล่อลื่น

-    ทำความสะอาดภายนอกโดยรวม

                2. แผ่นกรอง

-    ตรวจสอบตำแหน่งของแผ่นกรองยังอยู่ในตำแหน่งเดิมหรือไม่ มีการใส่สลับหรือไม่ (จากการซ่อมบำรุงครั้งก่อน)

-    ตรวจสอบรูปทรงของแผ่นว่ามีการบิด โค้ง งอ หรือไม่

-    ผิวหน้าแผ่นกรองบริเวณที่เป็นขอบกันรั่ว มีการสึกหรอ แตกร้าวหรือไม่

-    ตรวจสอบการอุดตันทางเข้าของตะกอน และทางออกของน้ำที่กรองแล้ว มีการอุดตันหรือไม่

                3. ผ้ากรอง

-    ตรวจสอบรอยขีดข่วน หรือรอยกดทับ จนเป็นรอยขาด หรือรูรั่ว โดยทั่วไปจะมาจากหินก้อนเล็กๆ ที่มีความคม

-    การเปลี่ยนผ้ากรองใหม่ ควรเปลี่ยนให้มีความเหมาะสม ทั้งการใช้งาน ผ้ากรองต้องเป็นแบบเดียวกันทั้งชุด ถ้าใช้เป็นของเดิมกับของใหม่ในเครื่องเดียวกัน ควรซื้อของใหม่ให้เป็นแบบเดียวกับของเดิม

-    ควรมีการล้างผ้ากรองบ้างตามสมควร ในกรณีที่ผ้ากรองสกปรกมาก และตะกอนเป็น Chemical Sludge หรือ Bio Sludge สามารถใช้กรดเกลือ 5% ล้างได้ แต่ควรระวังเกี่ยวกับ Pin Cloth เป็นอะลูมิเนียมอาจเสียหายได้

                4. ล้อสแตนเลส

-    ตรวจสอบล้อ

-    อัดจารบี

-    ทำความสะอาดรางสแตนเลส รองล้อ

                5. Side Bar

-    ตรวจสอบดูว่ามีการแตกร้าวหรือไม่ และตรวจสอบระดับการทรุดเอียง Side Bar จะอยู่ในระดับเท่านั้น

               

                6. Hydraulic Pump

-    ถ้าเป็นชนิด Hand Pump ตรวจสอบรอยรั่วซึมของน้ำมัน Hydraulic ลูกสูบของปั๊ม ข้อต่อสาย

-    ถ้าเป็นชนิด Motorize Pump ตรวจสอบรอยรั่ว และความดันน้ำมัน มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่

 

                7. Hydraulic Cylinder

-    เป็นชนิด Double Acting ตรวจสอบการรั่วซึมของน้ำมันซีล ทำความสะอาด ปัดฝุ่นออกจากแกน Hydraulic เพื่อไม่ให้ซีลรั่วเร็วเกินไป

 

 

                8. การพักการใช้งานเครื่อง Filter Press คือการทำการลดแรงดันในอุปกรณ์ชิ้นส่วนให้ได้มากที่สุด คือเลื่อนแผ่นกรองให้เพียงสัมผัสกันเท่านั้น ลดความดัน Hydraulic ให้เป็นศูนย์ไม่ควรอัด Hydraulic โดยไม่จำเป็น และเมื่อกรองเสร็จแล้ว (Cake เต็มแล้ว) ให้ลดความดันทันที

 

        

 

SPECIFICATIONS OF FILTER PRESS

 

OWNER

Green Water Treat Co.,Ltd.

PROJECT

xxxxxxxxx

 

Type                                  Open Chamber Filter Plate

           

Model                                KPS630-15-150-M

           

Capacity                             150   Liter/Batch

 

Filter Plate Size                   630 x 630   mm.

 

Cake Thickened                  32   mm.

 

No. of Plate                        16   Pcs.

 

Feed Inlet                          Center Feed Inlet Dia 2”

 

Discharge                          Open Filtrate Discharge

 

Max. Operate Pressure        7 Bar

 

Closing Mechanism             Single Acting Ram with Motorized Hydraulic Pump

 

Shifting Plates                    Manual

 

Power                               2.2 kW. ., 380 v./3P/50 Hz.

 

Empty Weight                    850  kg.  

 

Serial Number                    FP-60-xxx

 

 

 

TECHNICAL SPECIFICATIONS

OF FILTER PRESS

 

The “KPS630” Series Chamber Filter Press

 

Model                                    >>   KPS630

Cake Thickness                     >>   32 mm

Filter Press                            >>   “KLICO” Filter Press from Germany, Polypropylene Virgin Homopolymer material, Press molded type, Conforms to DIN 7129. Plates are made in one homogenous piece for superior strength and durability. Materials can conform to FDA & BGA requirements. Excellent chemical resistance within range of pH 1 to 12.

Feed inlet                              >>   Center, by stainless steel pipe with flange end.

Filtrate discharge                  >>   Open Type

Filter plate shifting                >>   Manual

Operating temperature          >>   15 – 60 degree Celsius

Closing mechanism               >>   Compact high pressure, Closed hydraulic system requiring minimal maintenance. Complete with spring returned, Single acting ram and thrust bar to facilitate easy filter cake discharge. Operation is by 2-stage hydraulic Motorized Pump. Pulling back of moving platen is by manual means.

Press framework                    >>   Rectangular sidebar hung arrangement with PP slide profiles. Platens are made of solid Steel to SS40. All steel welded construction. All surfaces are coats with 3 Pendguard Enamel epoxy.

Product Warranty                   >>   12 calendar months on delivery and subject to conditions in the warranty certificate.

Standard Accessories            >>   - One complete set of polypropylene filter cloths barrel-neck type, installed on filter plates.

                                              >>   - One PVC filtrate trough.

Optional Accessories             >>   1) One set of stainless steel drip trays.

                                              >>   2) Stainless steel Drain Filtrate

 

 

INTRODUCTION OF FILTER PRESS

 

 

MANUAL AND MAINTENENCE

OF FILTER PRESS

 

  • บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น

 

                เครื่องอัดกรอง (Filter Press) เป็นเครื่องจักรที่ออกแบบมาเพื่อกรองของแข็งออกจากของเหลวชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นของเหลว และของแข็งแยกกันได้อย่างชัดเจน หรือบางครั้งสามารถใช้สารช่วยกรองโดยใช้แรงดันในช่วง 5-16 บาร์ สิ่งที่นำมากรองได้จะต้องสามารถปั๊มได้ด้วยปั๊ม

            หลักการทำงานของการกรองด้วยแผ่นกรอง (Filter Press) เป็นการกรองโดยผ่านผ้ากรองที่มีขนาดช่องที่เหมาะสม เพื่อให้ตะกอนตกค้างอยู่บนด้านหน้าของผ้า และน้ำในส่วนที่กรองได้จะไหลผ่านทะลุแผ่นกรอง ออกมาด้านนอก และตะกอนค้างอยู่หน้าผ้า ความดันของการกรองจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป จากเครื่องปั๊มที่ปั๊มเข้ามาตลอดเวลา เมื่อความดันถึงค่าที่ตั้งไว้ เช่น 7 บาร์ ระบบควบคุมจะสั่งให้ปั๊มหยุดทำงาน และเปิดแผ่นกรองให้ตะกอนแข็ง (Cake) หลุดออกจากแผ่นกรอง และพร้อมจะทำงานในรอบใหม่

            แผ่นกรองในเครื่องอัดกรอง รุ่นใหม่จะเป็นแผ่นพลาสติกชนิด Polypropylene และเป็นแผ่นชนิดเจาะสองด้าน เมื่อนำมาประกบกันจะเกิดช่องเรียกว่า Chamber Filter Press และแผ่นนี้จะถูกอัดด้วยไฮโดรลิค (Hydraulic) เพื่อป้องกันการรั่วขณะกรองด้วยความดัน

            เนื่องจากแผ่นกรอง และผ้ากรองทำจาก Polypropylene สามารถถูกทำลายได้ด้วยแสงอาทิตย์ (UV Light) ดังนั้นไม่ควรติดตั้งให้ถูกแสงอาทิตย์โดยตรง

 

  • บทที่ 2 รายละเอียดเครื่องกรอง

 

                ส่วนประกอบของเครื่องอัดกรอง (Filter Press) สามารถอธิบายความสำคัญ และหน้าที่ได้ดังนี้    

            2.1 Stationary Platen

            เป็นแผ่นเหล็กเหนียว ถูกยึดไว้ที่เป็นตัวต้านแรงอัดของ Hydraulic Cylinder ซึ่งอัดมาจาก Moving Platen และยังเป็นตัวยึดสำหรับท่อตะกอนเข้า (Sludge inlet) และน้ำกรองแล้วไหลออกด้านมุม (Filtrate Outlet)

            2.2 Moving Platen

            เป็นแผ่นเหล็กเหนียวชนิดหนา เพื่อรับแรงอัดจาก Hydraulic Cylinder และถ่ายอัดให้แผ่น Filter Press อย่างสม่ำเสมอ ป้องกันการรั่วของแผ่น ตามแนวประกบอันเกิดจากแรงอัดไม่เท่ากัน

            2.3 Head Stock

            เป็นโครงสร้างส่วนท้ายของ Filter Press เพื่อป้องกันโครงสร้างที่ยึด Hydraulic Cylinder เพื่อสร้างแรงอัดแผ่นกรอง Filter Press โครงสร้างเป็นเหล็กเหนียวเชื่อมประกอบเสริมแรง

            2.4 Side Bar

            เป็นส่วนประกอบที่ทนแรงดึงระหว่าง Stationary Platen และ Head Stock และยังเป็นที่วางแผ่นกรอง และ Moving Platen สร้างจากเหล็กเหนียวทนแรงดึงและมีแผ่นแสตนเลสพับรองล้อเลื่อน (Roller) สำหรับ Moving Platen

            2.5 Closing Device

            ประกอบด้วย Hydraulic Cylinder, Hydraulic Pump ชนิดทำงานด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าและสวิทช์ควบคุมแรงดัน (Motorized Hydraulic Pump) และเกจวัดความดันขณะใช้งาน Hydraulic Cylinder ความดันสูงสุด 300 Bar ความดันที่ใช้ 250 Bar /40 ตัน เป็นชนิด Single  Acting

            2.6 Filter Plate  

            เป็นชนิด Polypropylene Mould Press แบบ Chamber Plate – Open Type ผลิตจากบริษัท KLINKAU GMbH + Co ประเทศเยอรมันนี มีความสามารถทนแรงกรองได้ 10 บาร์ (kg/ cm2) และทนแรงอัดจาก Closing Device ไม่เกิน 40 ตันที่ขนาดแผ่นกรอง 630 x 630 มม. ความหนาตะกอน 32 mm.

            2.7 Filter Cloths

            เป็นผ้ากรองชนิด Polypropylene ผลิตโดยการทอและตัดเย็บแบบ Barrel-neck ประสิทธิภาพของการกรองด้วยเครื่อง Filter Press ขึ้นอยู่กับชนิดของผ้าส่วนหนึ่ง

            ข้อควรระวัง ในการใส่ผ้า และเดินเครื่องระวังผ้ายับซึ่งจะทำให้เกิดรอยรั่วระหว่างแผ่นกรอง และเกิดการยืด หรือหดตัวของผ้า เป็นบางส่วนระหว่างรอยยับ ซึ่งมีผลต่อคุณภาพของการกรอง

 

  • บทที่3 การติดตั้งและการเดินเครื่อง

 

3.1   การติดตั้ง

  3.1.1  ฐานรากจะต้องแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักเต็มที่ของ Filter Press ขณะทำงาน

            โดยคำนวณจาก Empty weight + Cake volume x 1.2  (หน่วยเป็น กก.) การยึดติดกับพื้นคอนกรีต             สามารถยึดได้ทั้งแบบฝัง J-Bolt หรือยึดพุก (กรณีเครื่องขนาดต่ำกว่า 630 mm.) ขนาดของฐานรากดูได้จาก Reference drawing

ข้อควรระวัง   ผ้ากรองของเครื่อง Filter Press เป็น Polypropylene ซึ่งไม่ทนต่อแสง ควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งที่แสงอาทิตย์ส่องถูกเครื่องโดยตรง

   3.1.2  การปรับตั้งค่า (ALIGNMENT)

          ให้ปรับตั้งที่ Side Bar ให้อยู่ในระดับแนวนอนโดยใช้ระดับน้ำ หากมีการเอียงใช้วิธีชิม (Shimming)    ด้านขาตั้งที่ตั้งขึ้นโดยให้แผ่นชิม เมื่อได้ระดับแล้วให้ขันน๊อตยึดให้แน่นอีกครั้ง และทดสอบระดับใหม่

3.1.3  การติดตั้งเครื่องกล

        ต้องตรวจสอบและทดสอบเครื่องกลตัวอื่นๆซึ่งเกี่ยวข้อง เช่น Air compressor, Air Blow, Mechanism, Sludge pump และตรวจสอบรอยต่อหน้าแปลน และตรวจสอบรอบรั่วของหน้าแปลนทุกตัวใหม่ ก่อนเดินเครื่อง

3.1.4  การติดตั้งแผ่นกรอง

        ให้เริ่มนับแผ่นกรองจาก Stationary platen แผ่นแรกเป็น head plate และใส่ intermediate plate จนหมด และตามด้วย end plate สังเกต head plate และ end plate จะมี pin cloth สีดำ end plate จะไม่มีช่อง sludge feed ตรงกลาง head plate จะมีช่อง sludge feed ตรงกลาง intermediate plate มีช่อง sludge ตรงกลางและมี pin cloth สีแดง

3.1.5  การติดตั้งผ้ากรอง

        ผ้ากรองตัดเย็บแบบ Barrel neck เท่านั้น ติดตั้งโดยใช้วิธีสอดเข้าช่องกลาง (Central feed hole) และดึงห่วงตาปลาขึ้นเกี่ยวกับ pin cloth ทั้งสองด้านและมัดด้านข้างเพื่อป้องกันการหลุด

3.2  การเตรียมการเดินเครื่อง

3.2.1  การตรวจสอบระบบท่อ Sludge inlet จะต้องไม่มีรอยรั่ว ตรวจสอบความดันปั๊มและทดสอบ relief valve (ถ้ามี) ตรวจสอบท่อระบายน้ำทิ้ง

3.2.2  ตรวจสอบเครื่อง Filter press ผ้ากรองต้องไม่ยับ แผ่นกรองเมื่อเลื่อนมาประกบกัน จะต้องไม่มีการเหลื่อม ต้องอยู่แนวเส้นตรงเดียวกัน

3.2.3  ตรวจสอบ Hydraulic แรงดันที่กระบอกไอโดรลิกที่ 250 Bar ตั้งความดัน Sludge feed ที่ 7 Bar

3.3  ขั้นตอนการเดินเครื่องอัดตะกอน

  1. จัดเรียงแผ่นกรองให้อยู่ตรงกลางหรือชิดขอบด้านใดด้านหนึ่ง พร้อมตรวจดูผ้าไม่ให้พับระหว่างแผ่นกรอง
  2. เลื่อนแผ่นปิดท้าย (Moving Plate) เข้ามาชิดแผ่นกรองแผ่นสุดท้าย
  3. โยกกระบอก (Touching Bar) ลงมาพร้อมจัดให้อยู่ตรงกลางระหว่างแผ่นปิดท้าย (Moving Plate) กับกระบอกไฮดรอลิค
  4. บิดสวิทช์คสวบคุมไปที่ Forward เพื่ออัดไฮดรอลิค โดยได้แรงดันที่ 250 บาร์ Pressure Switch จะสั่งหยุดโดยอัตโนมัติ และจะสั่งเปิดอีกครั้งหากแรงดันตกลงต่ำกว่า 230 บาร์
  5. จัดเรียงแผ่นรองรับน้ำหยดใต้แผ่นกรองให้เต็มแผ่นกรอง
  6. เปิดปั๊มอัดตะกอนเพื่ออัดตะกอนเข้ามาจนกว่าจะได้แรงดันหน้าเครื่องที่ 7 บาร์ หรือปั๊มทำงานช้าลง หรือน้ำทิ้งที่สายยางน้อยลง
  7. ปิดปั๊มอัดตะกอน
  8. ไล่น้ำที่ค้างอยู่ในแผ่นกรองโดยใช้ลมประมาณ 15 นาที (Core Blow) – หากมีการติดตั้งระบบ

 

3.4  ขั้นตอนการทำงานการเปิดแผ่นกรอง

  1. ตรวจดูแรงดันที่หน้าเครื่องให้แรงดันลดลงที่ 0 บาร์
  2. เลื่อนแผ่นรองรับน้ำหยดให้หลบบริเวณตำแหน่งที่ตะกอนจะล่วงลง
  3. คลายกระบอกไฮดรอลิค โดยบิดสวิทช์ควบคุมไปที่ตำแหน่ง Backward กระบอกไฮดรอลิคจะถอยจนสุดและตัดการทำงานเองโดย Timer ซึ่งจะตั้งไว้ประมาณ 15 วินาที
  4. โยกกระบอก (Touching Bar) ขึ้นไปค้างเอาไว้บนตัวรับ
  5. เลื่อนแผ่นปิดท้ายออกจากแผ่นกรอง เพื่อให้เปิดแผ่นกรองได้สะดวก
  6. เลื่อนแผ่นกรองทีละแผ่น เพื่อเปิดเอาตะกอนออก โดยจะมีหูจับแผ่นกรองทั้ง 2 ด้าน
  • บทที่4 การตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องอัดตะกอน

 

4.1  การตรวจสอบดูแลแผ่นกรอง

  1. ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งที่ทำการเปลี่ยนผ้ากรอง
  2. พยายามตรวจสอบของแข็ง เช่น ลวดแข็ง เศษเหล็กหรือวัสดุอื่น ไม่ให้เข้าไปติดอยู่ระหว่างแผ่นกรองในระหว่างการอัดไฮดรอลิค เพื่อป้องกันไม่ให้แผ่นกรองมีรอยและเสียหายได้
  3. คลายปั๊มไฮดรอลิคออกทุกครั้งเมื่อไม่มีการอัดตะกอน

อายุการใช้งานของแผ่นกรองจะสามารถใช้งานได้ไม่ต่ำกว่า 5  ปีขึ้นไป (ในสภาพการใช้งานปกติ)

 

4.2  การตรวจสอบดูแลผ้ากรอง

  1. ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งที่หยุดทำการอัดตะกอนเป็นเวลานานๆแต่ถ้าจะอัดตะกอนต่อเนื่องสามารถอัดตะกอนต่อได้เลยโดยไม่ต้องล้างทำความสะอาดก็ได้
  2. ถ้าหากตะกอนติดผ้าล้างออกยาก ให้ใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง(High Pressure Pump) ทำการฉีดล้างผ้ากรอง
  3. ถ้าหากจำเป็นต้องใช้แปรงถูล้างผ้ากรองเพื่อทำความสะอาด ควรใช้แปรงขนอ่อน ห้ามใช้แปรงขนแข็งเด็ดขาด
  4. ถ้าผ้ากรองอุดตันมากๆสามารถถอดผ้ากรองออกมาแช่ในกรดเกลืออ่อนๆ (ประมาณ 1 %) ทิ้งไว้ 1-2 ชั่วโมง แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด ถ้าสามารถทำได้ควรถอดผ้ากรองออกมาล้างทุก 3 เดือน

อายุการใช้งานของผ้ากรองจะสามารถใช้งานได้ประมาณ 1 ปี (ในสภาพการใช้งานปกติ ขึ้นอยู่กับการใช้งานว่าใช้งานบ่อยแค่ไหน และตัวเครื่องอัดตะกอนตั้งอยู่กลางแจ้งที่มีแสงแดดส่องถึงหรือไม่)

 

4.3  การตรวจสอบดูแลปั๊มไฮดรอลิค

  1. ตรวจดูปริมาณของน้ำมันในปั๊มไฮดรอลิคทุกเดือน ถ้ามีปริมาณน้ำมันลดลงให้เติมเพิ่มลงไป
  2. ตรวจดูสีและความสะอาดของน้ำมันไฮดรอลิคว่ามีสีที่ขุ่นหรือมีสิ่งสกปรกแปลกปลอมอยู่ในน้ำมันไฮดรอลิคหรือไม่ ถ้ามีควรทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันไฮดรอลิค
  3. ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันไฮดรอลิคทุกๆ 1 ปี
  4. ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าและหน้าคอนแทคต่างๆ ว่ามีคราบหรือสิ่งสกปรกติดหรือไม่ การทำงานของมอเตอร์หากมีความผิดปปติให้ตรวจสอบการกินกระแสไฟฟ้า

 

 

 

 

EQUIPMENT & DRAWING

 

FILTER PRESS HYDRAULIC POWER UNIT

  • POWER UNIT 2.2 kW. (3 HP.)
  • CAPACITY  PRESSURE 4 LITRE
  • VOLUME TANK 30 LITRE
  • ACCESSORIES

- AIR BREATER                                                        Qty.     1          PC

- OIL LEVEL                                                              Qty.     1          PC

- SUCTION FILTER                                                  Qty.     1          PC

- COUPLING                                                              Qty.     1          PC

- GEAR PUMP 4 LITRE/MIN                                   Qty.     1          PC

- ELECTRIC MOTOR  “ CROMTON “                    Qty.     1          PC

   POWER 2.2 kW. (3 HP) 4P 3 PHASE 380 VAC

- BELL HOUSHING                                                   Qty.     1          PC

- PRESSURE GAUGE 63 MM 0-400 BAR               Qty.     1          PC

- CONTROL VALVE G3/8” 220 VAC                      Qty.     1          PC

- PRESSURE SWITCH G 1/4”                                  Qty.     1          PC

- SUCTION                                                                 Qty.     1          PC

- OIL TANK 30 LITRE                                              Qty.     1          PC

 

 

 

 

Visitors: 269,566