ระบบบำบัดน้ำเสียเเบบคลองวนเวียน ( Oxidation Ditch )
กระบวนการคูวนเวียน (Oxidation Ditch Process)
เป็น ระบบบำบัดน้ำเสียที่มีหลักการเช่นเดียวกับกระบวนการเอเอสแบบยืดเวลา เพียงแต่จะมีรูปแบบของถังเป็นลักษณะคูหรือคลองที่สร้างให้เป็นรูปวงรี ทำให้น้ำสามารถหมุนเวียนไปมาได้โดยรอบ กระบวนการคูวนเวียนเป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่นิยมใช้กันมากในประเทศไทย เพราะเป็นระบบที่มีการควบคุมดูแลไม่ยุ่งยาก และโดยปกติจะได้น้ำทิ้งที่ได้มาตรฐานน้ำทิ้งอย่างสม่ำเสมอ
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบคลองวนเวียน
(Oxidation Ditch ; OD)
เป็นระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activated Sludge) ประเภทหนึ่ง
ที่ใช้แบคทีเรียพวกที่ใช้ออกซิเจน (Aerobic Bacteria) เป็นตัวหลักในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย
และเจริญเติบโตเพิ่มจำนวน ก่อนที่จะถูกแยกออกจากน้ำทิ้งโดยวิธีการตกตะกอน
หลักการทำงานของระบบ
การทำงานของระบบคลองวนเวียนจะเหมือนกับระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์โดยทั่วไป
คือ อาศัยจุลินทรีย์มากมายหลายชนิด โดยจุลินทรีย์ที่สำคัญได้แก่ แบคทีเรีย
เชื้อรา และโปรโตซัว เป็นต้น ซึ่งสภาวะที่ใช้ในการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์จะเป็นสภาวะแอโรบิค
โดยจุลินทรีย์จะใช้สารอินทรีย์ที่อยู่ในน้ำเสียเป็นแหล่งอาหารและพลังงาน
เพื่อการเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ในระบบ จากนั้นจึงแยกจุลินทรีย์ออกจากน้ำเสียที่ผ่านบำบัดแล้ว
โดยวิธีการตกตะกอนในถังตกตะกอน (Sedimentation Tank) เพื่อให้ได้น้ำใส
(Supernatant) อยู่ส่วนบนของถังตกตะกอน ซึ่งมีคุณภาพน้ำดีขึ้น และสามารถระบายออกสู่สิ่งแวดล้อมได้
ส่วนประกอบของระบบ
ระบบคลองวนเวียนจะมีลักษณะแตกต่างจาก
ระบบแอกติเวเต็ดสลัดจ์แบบอื่น
คือ ถังเติมอากาศจะมีลักษณะเป็นวงกลมหรือวงรี
ทำให้ระบบคลองวนเวียนจึงใช้พื้นที่มากกว่าระบบแอกติเวเต็ดสลัดจ์แบบอื่น
โดยรูปแบบของถังเติมอากาศแบบวงกลมหรือวงรี
ทำให้น้ำไหลวนเวียนตามแนวยาว
(Plug Flow) ของถังเติมอากาศ และการกวนจะใช้เครื่องกลเติมอากาศ
ซึ่งตีน้ำในแนวนอน
(Horizontal Surface Aerator)
จากลักษณะการไหลแบบตามแนวยาวทำให้สภาวะในถังเติมอากาศแตกต่างไปจากระบบแอคติ
เวเต็ดจ์สลัดจ์แบบกวนสมบูรณ์
(Completely Mixed Activated Sludge)
โดยค่าความเข้มข้นของออกซิเจนละลายน้ำ
ในถังเติมอากาศจะลดลงเรื่อย ๆ ตามความยาวของถัง
จนกระทั่งมีค่าเป็นศูนย์
เรียกว่าเขตแอน็อกซิก (Anoxic Zone)
ซึ่งจะมีระยะเวลาไม่ช่วงนี้ไม่เกิน
10 นาที การที่ถังเติมอากาศมีสภาวะเช่นนี้ทำให้เกิดไนตริฟิเคชั่น
(Nitrification)
และดีไนตริฟิเคชั่น (Denitrification) ขึ้นในถังเดียวกัน
ทำให้ระบบสามารถบำบัดไนโตรเจนได้ดีขึ้นด้วย
ระบบคลองวนเวียนส่วนใหญ่จะประกอบด้วยหน่วยบำบัด ดังนี้
1. รางดักกรวดทราย (Grit Chamber)
2. บ่อปรับสภาพการไหล (Equalizing Tank)
3. บ่อเติมอากาศแบบคลองวนเวียน
4. ถังตกตะกอน (Sedimentation Tank)
5. บ่อสูบตะกอนหมุน