ระบบบำบัดน้ำเสียแบบใช้ออกซิเจน

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบใช้ออกซิเจน

เป็นระบบบำบัดน้ำเสีย ที่ใช้จุลินทรีย์ชนิดที่ใช้ออกซิเจนในการดำลงชีพ เป็นระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพโดยการเติมออกซิเจนลงไปในน้ำโดย การทำให้จุลินทรีย์ได้ใช้ออกซิเจนจนเกิดปฎิกริยา ชีวเคมี ขึ้นเพื่อให้เกิดการย่อยสลายของสารอินทรีย์ในน้ำเสีย

ออกซิเจนที่ใช้ในการดำลงชีพ

  1. ใช้ในการสังเคราะห์แสงของสาหร่าย

ปัจจัยที่ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย

  1. ธาตุอาการ BOD:N:P = 100 :5:1 หมายความว่า น้ำเสียจะต้องมีธาตุอาการพอเพียงในการกำจัด BOD ได้ 100 จะต้องใช้ธาตุไนโตรเจน 5 ส่วน และ ฟอสฟอรัส 1 ส่วน
  2. อุณหภูมิของน้ำเสียจะต้องไม่สูงเกินไป ควรมีอุณหภูมิประมาณ 25 – 35 องศาเซลเซียส
  3. ค่า พีเอสของน้ำเสียควรมีค่าอยู่ระหว่าง 6 – 8
  4. ค่าโลหะเป็นพิษของน้ำเสียควรมีค่าไม่เกินที่กฎหมายกำหนด เช่น ธาตุสังกะสี ตะกั่ว ปรอท

 แคดเมียน นิกเกิล และทองแดง

  1. ปริมาณออกซิเจนที่ละลายลงไปในน้ำควรมีค่าประมาณ 1-2 mg/l
  2. ปริมาณ สลัสด์ในบ่อเติมอากาศวัดจากค่า SV 30 ควรมีค่าประมาณ 300-600 mg/l
  3. ประสิทธิภาพสำหรับระบบบำบัดน้ำเสียแบบ Activated sludge ควรมีค่ามากกว่า 70 เปอร์เซ็น
  4. ช่วงระยะเวลาในการบำบัด อายุสลัสดิ์ ปริมาณสารอินทรีย์ในระบบบำบัด

 

ประโยชน์ของระบบบำบัดน้ำเสียแบบใช้ออกซิเจน

  1. สามารถบำบัดน้ำเสียให้ผ่านค่ามาตรฐานน้ำทิ้ง ได้โดยมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด บำรุงดูแลรักษาง่าย
  2. สามารถกำจัดจุลินทรีย์ที่เกิดโรคได้มากกว่าระบบแบบไม่ใช้ออกซิเจน
  3. ทนทานต่อการเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหันของสารอินทรีย์ในน้ำเสีย (Shock load) ได้ดี
  4. วิธีสร้างระบบง่ายไม่ซับซ้อน
  5. สาหร่ายที่เกิดจากระบบเป็นแหล่งโปรตีนสูงใช้ในการเลี้ยงสัตว์ได้

บ่อเติมอากาศ (Aeration lagoon)

ส่วนมากจะใช้เครื่องเติมอากาศแบบทุ่นลอยระบบบำบัดน้ำเสียแบบสระเติมอากาศมีประสิทธิภาพในการกำจัดค่า BOD ได้มากถึง 80 – 95 เปอร์เซ็น โดยการเติมอากาศนั้นจะต้องมีปริมาณทั่วถึงและเพียงพอกับจุลินชีพในระบบบำบัด

 สรุป สระเติมอากาศเป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยการเติมออกซิเจนจากเครื่องเติมอากาศ เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำเสีย

 

ระบบถังเติมอากาศ (Aeration Tank)

อากาศเป็นส่วนสำคัญที่สุดของขบวนการตะกอนเร่ง เป็นตัวควบคุมสภาพแวดล้อมให้แหมาะสมต่อการเจริญเติมโตของจุลินทรีย์ขนาดถังบำบัดน้ำเสียขึ้นอยู่กับ ปริมาณสารอินทรีย์ที่เข้ามาในระบบและอัตราการไหลของน้ำเสีย โดยทั่วไปจะมีระยะเวลากักเก็บประมาณ 0.5 – 24 ชั่วโมง ส่วนรูปร่างของถังเติมอากาศขึ้นอยู่กับวิศวกรที่ออกแบบ และพิ้นที่ติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย โดยทั้วไปจะทำมาจากคอนกรีตเสริมเหล็ก

 

 เครื่องเติมอากาศ (Air blower)

เป็นการเติมอากาศโดยการจ่ายอากาศลงไปตามท่อ โดยจ่ายผ่านหัวจ่ายอากาศ Diffuser ทำหน้าที่สร้างฟองอากาศ เพื่อถ่ายเทออกซิเจนลงไปในน้ำเสีย หัวจ่ายอากาศมีสองแบบคือแบบละเอียดและแบบหยาบ

 

เครื่องเติมอากาศผิวน้ำ (Surface Aerater)

เป็นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวหน้าของน้ำเสีย ทำให้ผิวบนกระจายเป็นฟองเล็กๆขึ้นมาสัมผัสกับอากาศเพื่อรับออกซิเจนขณะเดียวกันจะเป็นการกวนน้ำเสียให้ผสมกันเพื่อกระจานออกซิเจนและมวลสารในน้ำเสียให้ทั่วถึงทั้งบ่อ

 

 

Visitors: 260,279