บำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี

1. ชื่อผลงานนวัตกรรม   “บำบัดน้ำเสียเป็นน้ำดี ด้วยวิธีธรรมชาติ บึงประดิษฐ์แบบดัดแปลง”

 

 ที่มาของปัญหา

                   มีระบบจัดการน้ำเสียโดยใช้ระบบรวบรวมน้ำเสียแบบแยก ร่วมกับระบบบำบัดน้ำเสียแบบตะกอนเร่ง (AS ; Activated Sludge) และมีสระรับน้ำทิ้ง ซึ่งมีการดูแลและการบำรุงรักษาที่ต้องใช้งบประมาณและผู้ดูแลมาก อีกทั้งเมื่อมี          การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเช่นฝนตก อุณหภูมิ หรือแม้กระทั่งการชำรุดของระบบบำบัดน้ำเสีย ทั้งเครื่องเติมอากาศ เครื่องสูบตะกอนเสียหายเพียงเล็กน้อย หรือการเติมคลอรีนฆ่าเชื้อที่ไม่เหมาะสมในบางครั้ง ก็อาจมีผลทำให้คุณภาพน้ำทิ้งเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ไม่ผ่านเกณฑ์ได้เกือบตลอดทุกสัปดาห์หรืออาจเกิดเหตุในทันทีทันใดได้  รวมถึงแม้กระทั้งการดูแลระบบเป็นอย่างดี ผลการทดสอบคุณภาพน้ำก็มีการเปลี่ยนแปลงไปในเชิงลบได้ตลอด โดยพารามิเตอร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ ค่าปริมาณสารละลายที่ได้ทั้งหมด (Total Dissolve Solid : TDS), ค่าโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (Total Coliform Bacteria) และค่าฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (Fecal Coliform Bacteria)  ซึ่งจากผลการส่งตรวจมีค่าที่เปลี่ยนแปลงตามปัจจัยต่างๆ อยู่เสมอ โดยในบางครั้งก็อยู่เกินกว่า         ค่าเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งในปัจจุบันน้ำเสียเมื่อผ่านระบบบำบัดแล้ว พบว่ามีค่าของแข็งละลายได้ (TDS ; Total Dissolved Solid) มีค่าสูงอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลมีความจำเป็นต้องทำการแก้ไขและปรับปรุง เนื่องจากการปล่อยน้ำทิ้งที่มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งชุมชนนั้น เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงมาก และเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีของสังคม

5. ขนาดและความรุนแรงของปัญหา

                    ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพตัวอย่างน้ำทิ้งจากอาคารเพื่อเฝ้าระวัง มีผลโดยตรงกับคุณภาพของโรงพยาบาล เนื่องจากคุณภาพน้ำมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนในชุมชนโดยตรง เนื่องจากน้ำทิ้งจากโรงพยาบาลถ้าไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จะทำให้มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค ทำให้โรงพยาบาลอาจเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรงเสียเอง อีกทั้ง พรบ.ควบคุมมลพิษ ยังมีบทลงโทษที่รุนแรงต่อผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำที่ไม่ผ่านเกณฑ์ที่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมในชุมชน และให้โอกาสในการแก้ไขในระยะเวลาอันสั้น เพราะเป็นเรื่องอันตราย เมื่อไม่สามารถแก้ไขได้ โรงพยาบาลจะต้องถูกดำเนินการทางกฎหมาย โดยเบื้องต้นจะถูกปรับเป็นอย่างน้อย 40,000 บาท และต้องเสียทรัพยากรในการแก้ไขในกรณีเร่งด่วนเป็นจำนวนมาก รวมถึงประชาชนจะสูญเสียความเชื่อมั่นในการให้บริการของโรงพยาบาล กว่าที่จะดึงความเชื่อมั่นกลับคืนมาต้องใช้ระยะเวลานาน

                    และเนื่องจากระบบบำบัดน้ำเสียแบบตะกอนเร่งของโรงพยาบาลไม่สามารถใช้งานได้เป็นปกติ จาก การตรวจสอบของกองวิศวกรรม กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (พ.ค.2555) มีการแนะนำให้ปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียอย่างเร่งด่วน อีกทั้งผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ที่สำคัญแทบทุกชนิดและอยู่ในเกณฑ์สูงมากจนไม่สามารถวัดได้ดังนี้

 

ลำ

ดับ

พารามิเตอร์ที่ทดสอบ

หน่วย

มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง

ผลการทดสอบ

28/01/55

28/03/56

1

สารที่ละลายได้ทั้งหมด

(Total Dissolved Solids)

mg/L

ไม่เกิน 500

872

798

2

โคลิฟอร์มแบคทีเรีย

(Coloform Bacteria)

mpn/100 ml

ไม่เกิน 5,000

>16,000

>16,000

3

ฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย

(Fecal Coloform Bacteria)

mpn/100 ml

ไม่เกิน 1,000

>16,000

>16,000

4

บีโอดี

(BOD)

mg/L

ไม่เกิน 20

28

26

หมายเหตุ         *ที่มา รายงานผลทดสอบคุณภาพตัวอย่างน้ำทิ้งจากอาคาร ศูนย์ห้องปฏิบัติการ              กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ปี 2555-2556  เฉพาะผลที่ไม่ผ่านเกณฑ์

 

 ซึ่งรายงานผลทดสอบคุณภาพตัวอย่างน้ำทิ้งจากอาคาร ศูนย์ห้องปฏิบัติการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขนี้ สะท้อนถึงปัญหาที่แท้จริงว่า สภาพระบบบำบัดน้ำเสียของโรงพยาบาลไม่สามารถบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำทิ้งที่มีคุณภาพได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญมาก

 

                    โรงพยาบาลพรหมบุรีจึงได้ตั้งเรื่องระบบบำบัดน้ำเสียเป็นเรื่องแก้ไขที่สำคัญเร่งด่วน โดยมีการวางแผน เป็นขั้นตอนและระยะๆ และได้มีการประสานงานยังหน่วยงานต่างๆ ที่จะสามารถเข้ามาช่วยเหลือแก้ไขให้สำเร็จ แต่ก็ไม่มีหน่วยงานใดที่เข้ามาแก้ไขให้ ได้แต่มีคำแนะนำให้ปรึกษาบริษัทเอกชนที่มีความรู้และเครื่องมือมาตรวจสอบและแก้ไข

 

                    โรงพยาบาลพรหมบุรีจึงได้ติดต่อบริษัทเอกชน ได้รับเอกสารเสนอราคาที่ไม่สามารถปฏิบัติตามได้เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงมาก เช่น ตรวจสอบเฉพาะเครื่องมือและอุปกรณ์ปีละ 56,000 บาท เฉพาะค่าตรวจสอบไม่รวมค่าซ่อมแซมและอะไหล่ อีกทั้งยังไม่รวมถึงค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการปีละประมาณ 12,000 บาท และค่าอุปกรณ์ในการตรวจพารามิเตอร์ประจำวันอีกประมาณปีละ 30,000-50,000 บาท ซึ่งโรงพยาบาลพรหมบุรีไม่สามารถมีงบประมาณในการจัดการได้

 

                    แต่เนื่องจากได้มีการไปศึกษาดูงานที่ โรงพยาบาลซำสูง จังหวัดขอนแก่น ได้มีคำแนะนำให้ปรึกษาทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการดูแลเรื่องระบบบำบัดน้ำเสียทางโรงพยาบาลจึงได้มีโอกาสได้รับคำแนะนำที่ดีและการรับเป็นผู้ดูแลระบบให้    โดยการเข้าโครงการ “การแก้ไขระบบบำบัดน้ำเสียโรงพยาบาลพรหมบุรี  โดยการทดลองใช้การกระตุ้นเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในถังปฏิกิริยาเดิมเทกลับ”  โดยการสมัครเป็นสมาชิกมีค่าใช้จ่ายรายปี ๆ ละ 45,400 บาท ซึ่งค่าใช้จ่ายนี้รวมถึง การเข้ารับการอบรมผู้ดูแลระบบ การสนับสนุนชุดตรวจพารามิเตอร์รายวัน การตรวจพารามิเตอร์ที่สำคัญปีละ 4 ครั้ง การดูแลรักษาซ่อมแซมระบบบำบัดน้ำเสียทั้งหมด และการให้คำปรึกษาในการพัฒนาคุณภาพ

 

          ซึ่งผลการที่ได้เข้าร่วมโครงการทำให้โรงพยาบาลพรหมบุรีได้ปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียสามารถใช้งานได้เป็นปกติและได้ทีมงานผู้ดูแลและผู้ควบคุมระบบ ที่มีความรู้ความสามารถในการดูแล รวมถึงสามารถซ่อมแซมระบบบำบัดได้เองโดยไม่ต้องจ้างหน่วยงานหรือเอกชนมาซ่อมแซม

 

          แต่เนื่องจากผลการทดสอบคุณภาพตัวอย่างน้ำทิ้งจากอาคาร หลังจากบำบัดน้ำเสียแล้วยังพบสภาพปัญหาอีก 3 พารามิเตอร์คือ

 

ลำ

ดับ

พารามิเตอร์ที่ทดสอบ

หน่วย

มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง

ผลการทดสอบ

14/05/2557

1

สารที่ละลายได้ทั้งหมด

(Total Dissolved Solids)

mg/L

ไม่เกิน 500

735

2

โคลิฟอร์มแบคทีเรีย

(Coloform Bacteria)

mpn/100 ml

ไม่เกิน 5,000

3,600

3

ฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย

(Fecal Coloform Bacteria)

mpn/100 ml

ไม่เกิน 1,000

820

4

บีโอดี

(BOD)

mg/L

ไม่เกิน 20

6

 

 

 

          ซึ่งพบปัญหาคือ

 

  1. ค่าสารที่ละลายได้ทั้งหมดเกินกว่าค่ามาตรฐาน (ค่า TDS)
  2. ค่าโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ต่ำกว่าค่ามาตรฐานแต่ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
  3. ค่าฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ต่ำกว่าค่ามาตรฐานแต่ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี

 

ซึ่งการแก้ไขค่าโคลิฟอร์มแบคทีเรียและฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย นั้นอาจไม่เป็นปัญหามากนักคือการเติมคลอรีนให้ในปริมาณที่สูง แต่จะทำให้ต้องสูญเสียงบประมาณในการจัดซื้อคลอรีนอีกทั้งคลอรีนยังทิ้งผงที่เป็นขยะอันตรายหลังจากการใช้ด้วย

 

ส่วนค่าสารละลายที่ได้ทั้งหมด (Total Dissolved Solids : TDS) นั้นคือ ผลรวมทั้งหมดของ ของแข็งที่ละลายอยู่ในน้ำ ซึ่งรวมทั้งแร่ธาตุต่างๆ เกลือ หรือโลหะหนัก ที่ละลายอยู่ในน้ำ โดยหน่วยของการวัดค่า TDS คือ มิลลิกรัม ต่อ ลิตร หรือ ppmนั้นจะแปรผันตรงกับปริมาณของเสียที่มาจากอาคารของโรงพยาบาลกล่าวคือปริมาณของเสียมากยิ่งทำให้โอกาสที่มีค่าสารละลายที่ได้ทั้งหมดจะมากขึ้นตามไปด้วย การที่จะทำให้ค่า TDS ลดลงนั้นมีวิธีอยู่หลายวิธี เช่น การใช้เครื่องกรองน้ำระบบ RO (Reverse Osmosis System) แต่ก็ยังคงมี น้ำเสียย้อนกลับ ซึ่งมีค่า TDS ที่สูงขึ้น จะต้องกักเก็บ และถ้าสะสมไว้อยู่ดี  ต้นทุนการบำบัด อย่างน้อย 20 บาทต่อลูกบาศก์เมตร  ยังไม่รวมการกำจัดน้ำเสียย้อนกลับ ซึ่งยังไม่สามารถหาแนวทางกำจัดอย่างไรต่อไป

 

 

 

ซึ่งการปรับปรุงค่า TDS ไม่ว่าจะวิธีการใดๆ มีแต่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวนมาก

 

 

 

          จึงสรุปได้ว่า ผลการตรวจสอบลักษณะน้ำทิ้งในรอบปีที่ผ่านมานั้น (พ.ค.2557)  พบว่าค่าของแข็งละลายได้มีค่าเกินมาตรฐานถึง 235 มิลลิกรัมต่อลิตร หมายความว่าในทุกลิตรของน้ำทิ้งมีของแข็งละลายได้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกลือ อนินทรีย์ ส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำทิ้งที่นำมาใช้ในการอุปโภคบริโภค และส่วนใหญ่ ถูกเปลี่ยนรูปมาจากสารอินทรีย์      ที่เปลี่ยนไปเป็นสารอนินทรีย์ แล้วตกค้างอยู่ในน้ำทิ้ง หลังจากนั้นน้ำผ่านกระบวนการบำบัดโดยระบบตะกอนเร่งไปแล้วในโรงพยาบาลพรหมบุรี

 

          สำหรับค่าของแข็งละลายได้โดยภาวะของแข็งละลายน้ำในน้ำทิ้ง เฉพาะส่วนที่เกินมาตรฐาน เพียงวันเดียวมีค่ามากถึง 11.75 กิโลกรัม/วัน หมายถึงโรงพยาบาลได้ปล่อยสารเหล่านี้ออกสู่สิ่งแวดล้อมทุกวัน และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากมายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

 ดังนั้นสรุปผลของการจัดหานวัตกรรมในการบำบัดน้ำเสีย

 

สาเหตุ

 

  1. น้ำทิ้งจากโรงพยาบาลมีผลการทดสอบคุณภาพตัวอย่างน้ำทิ้งจากอาคารไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
  2. ค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสีย เช่น ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์  ค่าไฟฟ้ามีมูลค่าสูง

 

6. แนวทางแก้ไข

 

          สภาพปัญหาของการปล่อยน้ำทิ้งที่มีมาตรฐานต่ำกว่าเกณฑ์ออกสู่ชุมชน โรงพยาบาลมีความจำเป็นต้องหาแนวทางแก้ไขโดยมีเงื่อนไขของการแก้ไขคือ

 

          1. แนวทางการแก้ไขต้องเป็นวิธีที่ไม่ซับซ้อน

 

          2. แนวทางการแก้ไขที่เลือกต้องมีต้นทุนไม่มาก

 

          3. แนวทางแก้ไขต้องมีความยั่งยืน

 

          4. แนวทางการแก้ไขต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ทั่วไปหามาทดแทนในอนาคตได้

 

          5. แนวทางการแก้ไขต้องเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานทั่วไป สามารถควบคุมการดำเนินระบบได้ง่าย

 

          จากเงื่อนไขของการแก้ไขข้างต้น โรงพยาบาลจึงได้เลือกวิธีการทางธรรมชาติ เพื่อลดปริมาณของแข็งละลายได้ในน้ำทิ้ง โดยจัดทำนวัตกรรมขึ้นมา ในรูปแบบการใช้รากวัชพืชเพื่อดูดใช้เกลืออนินทรีย์ละลายได้ที่มีอยู่ในน้ำทิ้งนั้น

 

7. กระบวนการ ขั้นตอน วิธีการจัดทำ

 

          จากการที่ได้ปรึกษากับคณะอาจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นให้แนวทางว่า การบำบัดน้ำเสียโดยการลดค่า TDS, โคลิฟอร์มแบคทีเรียและฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรียนั้น มีหลายวิธี แต่วิธีที่เหมาะสมและประหยัดงบประมาณคือการใช้แนวทางตามโครงการพระราชดำริ บึงประดิษฐ์ แต่เนื่องจากโรงพยาบาลพรหมบุรี มีพื้นที่ไม่เหมาะสมและเพียงพอกับการทำบึงประดิษฐ์แบบต่างๆ ได้ จึงได้วางแผนร่วมกันและหาแนวทางที่เป็นไปได้จึงได้เกิดนวัตกรรม “บำบัดน้ำเสียเป็นน้ำดี ด้วยวิธีธรรมชาติ บึงประดิษฐ์แบบดัดแปลง” ขึ้น

 

หลักการของบึงประดิษฐ์

 

 

 

บึงประดิษฐ์ธรรมชาติแบบต่างๆ

 

 

 

 

 

ขั้นตอนการทำบึงประดิษฐ์แบบดัดแปลง

 

                    ในการจัดทำนวัตกรรมเพื่อลดค่าของแข็งละลายได้ในน้ำทิ้งตามเงื่อนไขนั้น ทีมงานของโรงพยาบาลได้ประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางการออกแบบ นวัตกรรมนี้ ให้มีวัตถุประสงค์ตามที่ได้ตั้งไว้ ซึ่งในกระบวนการนั้น กำหนดขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานไว้ดังนี้

 

                    ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบลักษณะน้ำทิ้งเพื่อยืนยันในขนาดของปัญหา โดยการเก็บข้อมูลค่าของแข็งละลายได้ในน้ำ ต่อเนื่องจำนวน 4 ครั้ง แล้วกำหนดเป็นค่าที่ใช้ในออกแบบ

 

  1. ตรวจค่าน้ำก่อนการปฏิบัติงาน

 

ลำ

ดับ

พารามิเตอร์ที่ทดสอบ

หน่วย

มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง

ผลการทดสอบ

14/05/2557

1

สารที่ละลายได้ทั้งหมด

(Total Dissolved Solids)

mg/L

ไม่เกิน 500

735

2

โคลิฟอร์มแบคทีเรีย

(Coliform Bacteria)

mpn/100 ml

ไม่เกิน 5,000

3,600

3

ฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย

(Fecal Coliform Bacteria)

mpn/100 ml

ไม่เกิน 1,000

820

 

โดยมีเป้าหมายผลน้ำทิ้งจากอาคาร 3 เป้าหมายคือ

 

  1. สารที่ละลายได้ทั้งหมด    (TDS)
  2. โคลิฟอร์มแบคทีเรีย        (Coliform Bacteria)
  3. ฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย   (Fecal Coliform Bacteria)

 

               

 

ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบนวัตกรรม เพื่อให้เป็นหน่วยลดค่าของแข็งละลายได้ในน้ำทิ้ง ในขั้นตอนนี้  ทั้งคณะทำงานจากโรงพยาบาลและที่ปรึกษา ได้ร่วมกันออกแบบหน่วยบำบัดน้ำเสีย ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าของแข็งละลายได้ในน้ำทิ้ง โดยใช้รากวัชพืช โดยให้หน่วยบำบัดนั้น มีอัตราการไหลผ่านของน้ำทิ้งระยะทาง 1 เมตร ต่อน้ำทิ้ง 0.5 ลบ.ม.ในรอบวัน เพื่อให้รากวัชพืชดูดใช้สารประกอบของเสียอนินทรีย์ที่เหมาะสม

 

 

 

โมเดลบึงประดิษฐ์แบบดัดแปลง

 

 

 

                   ขั้นตอนที่ 3 การจัดทำ โดยการเลือกใช้วัสดุท้องถิ่นได้แก่ วงคอนกรีตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 100 ซ.ม. เก็บกักน้ำสูง 30 ซม. ปลูกพืชโดยล่อให้รากวัชพืช เจริญเติบโตออกมาจากภาชนะปลูก และให้รากวัชพืชนั้นเจริญเติบโตอยู่ในตัวกลางที่มีจุลินทรีย์ดิน เป็นตัวกระตุ้นการเจริญเติบโตอยู่ตลอดเวลา

 

 

 

เตรียมพื้นที่ลานบึงประดิษฐ์

 

 

 

 

เตรียมพืชน้ำสำหรับบึงประดิษฐ์

 

โดยมีขั้นตอนการปลูกดังนี้

 

1. เตรียมวัสดุในการปลูก

 

                

 

  ดินเหนียว                     ทราย             หินคลุกเบอร์ 1         ตะกร้าพลาสติก

 

2. เตรียมตะกร้าให้มีขนาดพอเพียงจำนวน 3 ใบต่อ 1 วงซีเมนต์

 

3 นำหินมาเรียงด้านก้นตะกร้า

 

4. นำดินเหนียวมาผสมกับทราย เพื่อเป็นดินสำหรับพืชน้ำ

 

5. ปลูกพืชน้ำลงในตะกร้า

 

      

 

 

 

    

 

6. นำตะกร้าไปวางเรียงในวงซีเมนต์ให้ครบ 300 ตะกร้า (100 วงซีเมนต์)

 

   

 

7. บึงประดิษฐ์เสร็จเรียบร้อยต่อระบบบำบัดน้ำเสียที่บำบัดจากระบบตะกอนเร่งแล้ว เพื่อนำน้ำเข้ากับระบบบึงประดิษฐ์

 

    

 

8. ผลลัพธ์ของบึงประดิษฐ์แบบวงซีเมนต์

 

ผลการทดสอบคุณภาพตัวอย่างน้ำทิ้งจากอาคารหลังจากทำบึงประดิษฐ์แบบวงซีเมนต์

 

ลำ

ดับ

พารามิเตอร์ที่ทดสอบ

หน่วย

มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง

ผลการทดสอบ

14/05/57

03/10/57

07/02/58

25/05/58

1

สารที่ละลายได้ทั้งหมด

(Total Dissolved Solids)

mg/L

ไม่เกิน

500

735

230

200

10

2

โคลิฟอร์มแบคทีเรีย

(Coliform Bacteria)

mpn/

100 ml

ไม่เกิน 5,000

 

3,600

170

140

100

3

ฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย

(Fecal Coliform Bacteria)

mpn/

100 ml

ไม่เกิน 1,000

820

140

100

70

 

 

 

9. สรุปผลของนวัตกรรม บึงประดิษฐ์แบบวงซีเมนต์

 

          ผลการทดสอบคุณภาพน้ำตัวอย่างทิ้งจากอาคารที่ลดลง

 

  1. ค่า TDS ที่ลดลง เกิดจากวัชพืชที่ปลูกนำสารอนินทรีย์ที่อยู่ในน้ำที่บำบัดจากระบบตะกอนเร่งเรียบร้อยแล้ว นำมาเป็นสารอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงในการเจริญเติบโตมีผลโดยตรงทำให้ค่า TDS ลดลงโดยตรง
  2. ค่าโคลิฟอร์มแบคทีเรียและฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรียที่ลดลง เกิดจากระบบบึงประดิษฐ์แบบดัดแปลงมีพื้นที่ในการรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ตลอดวัน ทำให้น้ำที่ผ่านการบำบัดจากระบบตะกอนเร่งปกติ มีการสัมผัสกับแสงแดดโดยตรงมีผลทำให้ค่าโคลิฟอร์มแบคทีเรียและฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย
  3. ผลสัมฤทธิ์ที่ได้รับ

 

  • ผลต่อโรงพยาบาล

 

- ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ทุกชนิด

 

- ประหยัดผงปูนคลอรีนในการเติมลงในน้ำทิ้งก่อนการปล่อยสู่ธรรมชาติหรือสระรับน้ำทิ้ง เนื่องจากน้ำได้ผ่านแสงอาทิตย์มาเพื่อลดค่าโคลิฟอร์มแบคทีเรียและฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรียซึ่งเป็นการบำบัดแบบธรรมชาติ

 

  • ผลต่อชุมชน

 

- เกิดความเชื่อมั่นต่อโรงพยาบาลในระบบน้ำทิ้งของโรงพยาบาลไม่ก่อให้เกิดมลพิษ และไม่เป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อในชุมชน

 

 

 

10. การต่อยอดของนวัตกรรม

 

  • ภายในระบบเครือข่าย ได้มีการพัฒนาออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียโดยการใช้ถังบำบัดน้ำเสียและบึงประดิษฐ์แบบดัดแปลง นำลงไปใช้ยังเครือข่าย รพ.สต. ในเครือข่ายโรงพยาบาลชุมชน

 

 

 

  • รายการทุกทิศทั่วไทย มาจัดทำรายการบำบัดน้ำเสียแบบธรรมชาติ ออกอากาศช่องในวันที่ 12 กุมภาพันธ์  2558 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ให้กับโรงพยาบาลและหน่วยงานสาธารณสุขให้กับชุมชนเกิดความเชื่อมั่นและเป็นแบบอย่างต่อโรงงานขนาดเล็กต่างๆ สามารถน้ำไปใช้ในระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานได้
  • ภายนอกเครือข่าย มีโรงพยาบาลที่นำไปใช้อยู่อีก 2 แห่ง (นำไปพัฒนาหลังจากโรงพยาบาลพรหมบุรี)
    • โรงพยาบาลเขื่องใน        จังหวัดอุบลราชธานี
    • โรงพยาบาลแก้งคร้อ       จังหวัดชัยภูมิ

 

11. สิ่งที่ต้องพัฒนาต่อไป

 

           - นำน้ำเสียที่ผ่านการปฏิบัติสามารถนำกลับมาใช้รถน้ำต้นไม้ภายในโรงพยาบาล และปรับทัศนียภาพภายในระบบบำบัดน้ำเสียให้สวยงาม

 

           - ปรับปรุงระบบบึงประดิษฐ์ให้เหมาะสมกับพื้นที่และปริมาณน้ำทิ้งเพื่อความเหมาะสมและใช้ประโยชน์จากน้ำทิ้งได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

 

  - ศึกษาแนวทางและการปฏิบัติในการเปิดตลาดต้นไม้ เพื่อหารายได้จากการบำบัดน้ำเสียแบบธรรมชาติ

 

12. บทสรุป

 

                      การสร้างนวัตกรรมการลดของแข็งละลายได้โดยใช้รากวัชพืชนั้น เป็นการออกแบบหน่วยบำบัดน้ำเสีย โดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาพัฒนาเพื่อเป็นหน่วยบำบัดน้ำเสีย  ส่วนกระบวนการนั้นเป็นการเลือกใช้กระบวนการทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นการดูดใช้ธาตุอาหารทางรากวัชพืช แต่ความสำเร็จของนวัตกรรมนี้ ขึ้นอยู่กับการปรับสภาพของธาตุอาหารวัชพืช  ให้เหมาะสมต่อการดูดใช้ และผลประโยชน์ที่ได้รับคือ ความสำเร็จของการลดค่าของแข็งละลายได้ และได้ผลเพิ่มเติมจากพลังงานแสงอาทิตย์ทำให้ค่าแบคทีเรียลดลง ความสำเร็จที่สำคัญที่สุดคือ ความประหยัดอย่างสูงและความยั่งยืนอย่างถาวร

 

 

 

Visitors: 260,196